การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของแบรนด์ สบู่ออร์แกนิคลวดลายศิลปะ “นภาพร่าง”
Other Title:
An Integrated Marketing Communication for ""Napaprang"" Organic soap in art pattern
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2020
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
“ นภาพร่าง” เป็นแบรนด์สบู่แฮนด์เมดที่ส่วนผสมวัตถุดิบจากธรรมชาติที่ใช้วิธีการทําสบู่ น้ํามันกวนเย็น (Cold Process Soap/ CP soap) ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนชิ้นงาน ด้วย วิธีการทําลวดลายแบบ Layer Art ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากผลงานศิลปะ ทําให้โดดเด่นในผลิตภัณฑ์ ลวดลายของผลงานศิลปะ แต่เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่ ไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ และไม่ได้ทําการสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างสม่ําเสมอ จึงทําให้ยังไม่เป็นที่รู้จัก ต่อกลุ่มเป้าหมายเท่าที่ควรในปัจจุบัน
จุลนิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการสื่อสารการตลาดให้แบรนด์สบู่
“นภาพร่าง” โดยผลที่คาดว่าจะได้รับคือแบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและตรงต่อความ ต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมถึงเกิดการสร้างการรับรู้และทดลองซื้อผลิตภัณฑ์ โดยการทํา วิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพกับกลุ่มเป้าหมายเพศชายและหญิงอายุ 21 -35 ปี ที่มีความชื่นชอบ สบู่แฮนด์เมด และงานแฮนด์เมดประเภทอื่น เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสบู่ ความรู้ ทัศคติ และ ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์
จากการสัมภาษณ์พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักแบรนด์ “นภาพร่าง” คิดเป็น 96 เปอร์เซ็นต์ แต่มีความสนใจในสินค้าที่มีดีไซน์สวยงามในรูปแบบของลวดลายศิลปะ มีขั้นตอนการ ทําและเทคนิคที่ไม่เหมือนใคร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ความรู้สึกคุ้มค่ากับจิตใจมากกว่าราคาที่ต้องจ่ายไป แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ให้ที่มีต่อผู้รับ ผู้จัดทําจึงได้แนวคิดเชิงสร้างสรรค์คือ “Little thing tell story” ความใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอน โดยนําเสนอเรื่องของดีไซน์ลวดลายศิลปะ และ เทคนิค Layer art เป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
จากแนวคิดที่ได้ผู้จัดทําได้ใช้เครื่องมือในการสื่อสารการตลาดโดยจะคํานึงความ
เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและตามวัตถุประสงค์การสื่อสารที่วางไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงที่ 1 การสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ ได้แก่ การร่วมมือระหว่างแบรนด์กับศิลปินไทย (Collaborative Product) สื่อวิดีโอทางออนไลน์ (Online Video) สื่อออนไลน์ (Online Media) สื่อนอกบ้าน (Out of Home) ช่วงที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ การจัด กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การจัดกิจกรรมเชิงนิทรรศการและปฏิบัติการ ( Art & Craft tour) การตลาดเชิงกิจกรรม (Event) ร่วมงานแสดงสินค้า (Booth) ช่วงที่ 3 การสร้างการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ การส่งเสริมการขาย (Promotion) การจัดจําหน่ายตามร้านค้า (Store) และการจัดตั้งหน้าร้าน แบบชั่วคราว (Pop-up Store)
Type:
Degree Name:
นิเทศศาสตรบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
45