A๊utonomous Maintenance Technique for Machine Efficiency Improvement. Guidelines : A Trial in the case of A Biomass Power Plant in Suphanburi Province
เทคนิคการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรการทดลอง กรณีโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
18/6/2021
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This research presents an application of autonomous maintenance techniques for machine efficiency improvement in the case of a biomass power plant in Suphanburi Province. We made use of the 3-step 5-action autonomous maintenance technique which is the principle of total productive maintenance. In this study, we focused on autonomous maintenance which directly relates to the production operators. The main activities were retaining the clean workplace for finding the machines' defective spots, designing the corrective plan which focuses on the root cause, and defining the standard work instruction. After implementing the technique, we found that the breakdown maintenance reduced from 8.4% to 2.6% and overall machine efficiency increased from 70% to 84% when compared to the last fiscal year. In the case of economic evaluation, as a result of overall machine efficiency increased, the income from steam selling was increased. In the fiscal year of 2017/2018, 2018/2019, and 2019/2020, the company received more income from steam selling for 8,495,015.10 baht. Furthermore, we found that the machine operators were able to conduct the autonomous maintenance systematically, and there were the standard work instructions that operator replacement is allowed. Finally, this study could be a technical guide to other departments in the company. งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์เทคนิคการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร กรณีโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยวิธีการทำงานแบบการบำรุงรักษาด้วยตนเอง 3 ขั้นตอน 5 วิธีการปฏิบัติ ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งของการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม แต่จะมุ่งเน้นเฉพาะเสาบำรุงรักษาด้วยตนเอง ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพนักงานเข้าหน้าที่ฝ่ายผลิตที่ดูแลใกล้ชิดเครื่องจักรที่ตนเองควบคุมอยู่ โดยวิธีการทำงานหลักคือการดูแล ทำความสะอาดเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของเครื่องจักร กำหนดมาตรการและการแก้ไขต้นเหตุของปัจจัยเร่งเสื่อม สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้สิ่งใหม่ และกำหนดเป็นมาตรฐานชั่วคราวในการทำงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผลการดำเนินการหลังจากได้ดำเนินกิจกรรมด้วยระบบการบำรุงรักษาด้วยตนเองแล้ว พบว่าในปีล่าสุดหลังการปรับปรุงอัตราการหยุดทำงานของเครื่องจักรแบบฉุกเฉิน ลดลงจาก 8.4% เหลือ 2.6% และพบว่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร เพิ่มขึ้นจาก 70% เป็น 84% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนการประเมินผลด้านเศรษฐศาสตร์ จากผลการศึกษาทำให้ค่าประสิทธิผลเครื่องจักรโดยรวมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้การขายไอน้ำที่มากขึ้น ทำให้ในช่วงที่ทำการวิจัยในฤดูกาลหีบอ้อย 3 ปี คือ ปี2560/2561 ปี 2561/2562 และปี 2562/2563 รายได้ต่อปีที่เพิ่มขึ้นจากการประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม เท่ากับ 8,495,015.10 บาท และสิ่งสำคัญคือพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ดูแลเครื่องจักรของฝ่ายผลิต สามารถบำรุงรักษา ดูแลเครื่องจักรได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน สามารถทำงานแทนกันได้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงเครื่องจักรอื่นๆ และหน่วยงานอื่นในองค์กรต่อไป
Type:
Discipline:
การจัดการงานวิศวกรรม แผน ก แบบ ก 2 ปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
34