DYNAMIC TALENT MANAGEMENT CAPABILITIES FOR SUSTAINABLE COMPETITIVE ADVANTAGE OF INNOVATION-DRIVEN ENTERPRISES IN THAILAND
ความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในประเทศไทย
Author:
Advisor:
Subject:
ความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัต
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
วัฒนธรรมองค์การเชิงปรับตัว
การสร้างภาพลักษณ์การจ้างงาน
ความเป็นเลิศในการจัดการความรู้
ศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรม
ความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
Dynamic Talent Management Capabilities
Transformational Leadership
Adaptive Organizational Culture
Employment Branding
Outstanding Knowledge Management
Innovation Development Capabilities
Sustainable Competitive Advantage
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
วัฒนธรรมองค์การเชิงปรับตัว
การสร้างภาพลักษณ์การจ้างงาน
ความเป็นเลิศในการจัดการความรู้
ศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรม
ความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
Dynamic Talent Management Capabilities
Transformational Leadership
Adaptive Organizational Culture
Employment Branding
Outstanding Knowledge Management
Innovation Development Capabilities
Sustainable Competitive Advantage
Date:
10/7/2020
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purpose of this research were 1) to study the influences of Dynamic Talent
Management Capabilities on the Outstanding Knowledge Management of Innovation-driven Enterprises in Thailand 2) to study the influences of Dynamic Talent Management Capabilities on the Innovation Development Capabilities of Innovation-driven Enterprises in Thailand 3) to study the influences of Outstanding Knowledge Management and Innovation Development Capabilities on Sustainable Competitive Advantage of Innovation-driven Enterprises in Thailand 4) to study the influences of Dynamic Talent Management Capabilities on Sustainable Competitive Advantage of Innovation-driven Enterprises in Thailand 5) to study the influences of Transformational Leadership, Adaptive Organizational Culture, and Employment Branding on Dynamic Talent Management Capabilities of Innovation-driven Enterprises in Thailand and 6) to study the guidelines for developing
the Dynamic Talent Management Capabilities for Sustainable Competitive Advantage of Innovation-driven Enterprises in Thailand. The mixed methods research methodology was used in the study by complying with the Explanatory Sequential Design; started by using quantitative approach to study the causal relationship of Dynamic Talent Management Capabilities of Innovation-driven Enterprises in Thailand. Quantitative data were gathered by using the questionnaire which were responded by executive or human resource manager of 374 innovation-driven enterprises. Structural Equation Modeling was conducted for analyzing the causal model with empirical data and Path Analysis for testing the hypotheses. Followed by the qualitative approach by using phenomenological approach that was based on
in-depth interviews with 11 key informants who are executive or human resource executive of innovation-driven enterprises that execute talent management activities, success
in HR management, and continuous innovation development.
The results of hypotheses test revealed that 1) Dynamic Talent Management Capabilities have a positive direct influence on Outstanding Knowledge Management
2) Dynamic Talent Management Capabilities have a positive direct influence on the Innovation Development Capabilities 3) Outstanding Knowledge Management has a positive direct influence on the Innovation Development Capabilities 4) Outstanding Knowledge Management has a positive direct influence on Sustainable Competitive Advantage
5) Innovation Development Capabilities have a positive direct influence on Sustainable Competitive Advantage 6) Dynamic Talent Management Capabilities have a positive direct influence on Sustainable Competitive Advantage 7) Outstanding Knowledge Management has a mediating effect on the influence of Dynamic Talent Management Capabilities on Sustainable Competitive Advantage 8) Innovation Development Capabilities have a mediating effect on the influence of Dynamic Talent Management Capabilities on Sustainable Competitive Advantage 9) Transformational Leadership has a positive direct influence on Dynamic Talent Management Capabilities 10) Adaptive Organizational Culture has a positive direct influence on Dynamic Talent Management Capabilities, and
11) Employment Branding has a positive direct influence on Dynamic Talent Management Capabilities. Structural equation model analysis found that the hypotheses model was congruent with empirical data. In this study, the chi-square was 213.213, the degrees of freedom was 195 at the level of significance (p-value) was 0.177, the relative chi-square was 1.093, CFI was 0.998, NFI was 0.975, GFI was 0.956, AGFI was 0.927, and RMSEA was 0.016.
The qualitative research results could explain and elaborate on the quantitative findings. The contributions of this research can explain the causality of Dynamic Talent Management Capabilities of Innovation-driven Enterprises in Thailand that have the dynamic capabilities theory and the contingency theory as the foundation theories for integrating and constructing the variables and conceptual framework. Furthermore, the research results
can be used to develop the dynamic talent management capabilities for leading the
innovation-driven enterprises to achieve sustainable competitive advantage. การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถ
ในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตที่มีต่อความเป็นเลิศในการจัดการความรู้ของธุรกิจ
ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถในการจัดการบุคลากร
ที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตที่มีต่อศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมของธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ในประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเป็นเลิศในการจัดการความรู้และศักยภาพในการพัฒนา
นวัตกรรมที่มีต่อความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในประเทศไทย
4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตที่มีต่อความได้เปรียบ
ในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในประเทศไทย 5) เพื่อศึกษาอิทธิพลของ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การเชิงปรับตัว และการสร้างภาพลักษณ์การจ้างงานที่มีต่อ
ความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตของธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ในประเทศไทย และ 6) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูง
เชิงพลวัตเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในประเทศไทย
ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ออกแบบแผนการวิจัยเป็นแบบขั้นตอน
เชิงอธิบาย (Explanatory Sequential Design) โดยเริ่มด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตกับธุรกิจ
ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริหารระดับสูง
หรือผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจจำนวน 374 ธุรกิจ ใช้การวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง
เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และการวิเคราะห์เส้นทางเพื่อทดสอบ
สมมติฐานการวิจัย และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิทยาแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological
Approach) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจ
ที่มีการดำเนินกิจกรรมการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ประสบความสำเร็จในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และเป็นธุรกิจที่มีนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง จำนวน 11 คน
ผลการวิจัยตามสมมติฐาน พบว่า 1) ความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูง
เชิงพลวัตมีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อความเป็นเลิศในการจัดการความรู้ 2) ความสามารถในการจัดการ
บุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตมีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรม
3) ความเป็นเลิศในการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรม
4) ความเป็นเลิศในการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
5) ศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
6) ความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตมีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อความ
ได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน 7) ความเป็นเลิศในการจัดการความรู้เป็นตัวแปรส่งผ่านอิทธิพลเชิงบวก
ของความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตต่อความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน 8) ศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่านอิทธิพลเชิงบวกของความสามารถในการจัดการ
บุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตต่อความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน 9) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัต 10) วัฒนธรรมองค์การเชิงปรับตัวมีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูง
เชิงพลวัต 11) การสร้างภาพลักษณ์การจ้างงานมีอิทธิพลทางตรงในเชิงบวกต่อความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัต การวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่าตัวแบบตามสมมติฐาน
มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์ เท่ากับ 213.213 ที่องศาอิสระเท่ากับ 195
มีระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.177 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ มีค่าเท่ากับ 1.093 ค่า CFI เท่ากับ 0.998
ค่า NFI เท่ากับ 0.975 ค่า GFI เท่ากับ 0.956 ค่า AGFI เท่ากับ 0.927 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.016
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถอธิบาย ยืนยัน และขยายผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณได้เป็นอย่างดี ทำให้
ผลการศึกษามีความชัดเจนและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ประโยชน์จากการวิจัยนี้สามารถอธิบายความสัมพันธ์
เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัตของธุรกิจที่
ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในประเทศไทย โดยมีทฤษฎีพื้นฐานในการวิจัยคือทฤษฎีความสามารถเชิงพลวัต และทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ นำมาใช้ในการบูรณาการเพื่อพัฒนาตัวแปรหลักคือความสามารถ
ในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัต และการพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัย โดยสามารถนำ
ผลการศึกษาไปใช้ในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูง
เชิงพลวัต ซึ่งจะทำให้ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนต่อไป
Type:
Discipline:
การจัดการ แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
125