สัญลักษณ์ดอกบัวจากพุทธปรัชญาสู่งานออกแบบสถานส่งเสริมทางปัญญา

ชื่อเรื่องอื่น:
A contemporary design concept for intellectual child centre based on the Buddhist lotus philosophy
ผู้แต่ง:
วันที่:
2008
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
จากวัตถุประสงค์การศึกษาเรื่องสัญลักษณ์ดอกบัวจากพุทธปรัชญา สู่งานออกแบบสถานส่งเสริมทางปัญญา เพื่อศึกษาพุทธปรัชญาในเชิงสัญลักษณ์การแทนค่าและความหมายในด้านต่าง ๆ ของดอกบัว ถ่ายทอดความคิด รูปแบบ กระบวนการแปรรูป เป็นผลงานเชิงสัญลักษณ์และความหมายของดอกบัวเพื่อสะท้อนความคิด ความเชื่อ ความศรัทธาของชาวเอเชียที่มีต่อพุทธศาสนาสู่งานออกแบบตกแต่งภายในรูปแบบร่วมสมัย เป็นการสืบทอดพุทธปรัชญาสู่สภาวะการณ์ปัจจุบัน
จากการศึกษา พบว่า เกิดองค์ความรู้ใหม่ ในเชิงปรัชญาทางความเชื่อ รวมทั้งวัสดุกรรมวิธี ความงาม ความหมาย จากสัญลักษณ์ของดอกบัว มาใช้ในงานออกแบบตกแต่งภายในได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะสังคมยุคปัจจุบัน
สรุปผลของการศึกษาวิเคราะห์และทำการออกแบบผลออกมาตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการสร้างสภาพแวดล้อมภายในได้เป็นอย่างดี และสามารถพัฒนาแนวความคิดต่อยอดในการออกแบบสถานสงเคราะห์ เกิดองค์ความรู้ใหม่ในเชิงปรัชญาทางความเชื่อ รวมทั้งวัสดุ กรรมวิธี ความงาม ความหมาย จากสัญลักษณ์ของดอกบัว มาใช้ในงานออกแบบตกแต่งภายในได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะสังคมยุคปัจจุบัน The objective of this study a contemporary design concept Intellectual child centre based on the Buddhist lotus philosophy is to symbolically study Buddhist philosophy through presentations and definitions of lotus indifferent aspects as well as to study thoughts, patterns and reforming processes. The study aims to investigate and meaning of lotus in order to reflect thoughts beliefs and faiths of Asian people towards Buddhism. This leads to the contemporary interior design and it could be said that the design simply bridges the Buddhist philosophy and the current society together.
The findings from the study reveal that new knowledge on term of philosophy, belief, material, procedure, beauty, and meaning are grained from the different symbolic aspects of lotus. These can be implemented for interior design appropriately according to current society.
After investigation and design, the outcomes meet the objective and assumption of creating internal environment. The finding can be developed in order to design a foster’s home and thus new knowledge in term of philosophy, belief, material, procedure, beauty, meaning are grained from the different symbolic aspects of lotus. These can be implemented for interior design appropriately according to current society.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาการออกแบบภายใน
จำนวนดาวน์โหลด:
444