รูปทรงความเจ็บปวดแห่งสังคมบริโภค หมายเลข 2
Author:
Advisor:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Description:
ไฟเบอร์กลาส โลหะ ขนาด 250x70x280 เซนติเมตร องค์ประกอบของรูปทรงประติมากรรม โครงสร้างหลักของลักษณะรูปทรงมนุษย์
ผสมผสานรูปทรงวัว ข้าพเจ้าได้กำหนดองค์ประกอบให้อยู่ในแนวทแยง เพื่อให้เกิดทิศทางการ
เคลื่อนไหวในตำแหน่งต่าง ๆ อยู่ในเส้นแนวนอน ลักษณะของรูปทรงมีรูปทรงพิงเอน กึ่งนั่งกึ่งนอน
แฝงเร้นกามารมย์ ซึ่งข้าพเจ้าได้ผสมผสานรูปทรงขึ้นส่วนของรูปทรงกาละมัง จานรอง เก้าอี้ รวม
เป็นรูปทรงสิ่งมีชีวิตที่มีความแตกต่างทั้งหมดในเรื่องเนื้อหา เทคนิค มากขึ้นกว่าผลงานชิ้นที่ 1 คือ
รูปทรงขึ้นส่วนของอวัยวะเนื้อวัว มีขนาดและสัดส่วนในโครงสร้างของมนุษย์ และกำหนดปริมาตร
ที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีทิศทางต่อเนื่องไปตามลักษณะของรูปทรง โค้งงอ บิดไปมา เกาะเกี่ยว ทับซ้อน
การเปิดที่ว่าง (Space) ให้น้อยลง เหลือเพียงแค่ส่วนล่างให้โปร่งเบา ได้อาศัยนำเอาองค์ประกอบ
ของรูปทรงเรขาคณิต (Geomety) มาใช้ในลักษณะพาดเกี่ยวกับตำแหน่งต่าง ๆ ให้ความชัดเจน
เด่นชัด โครงสร้างหลักมีพลังความเคลื่อนไหวของเส้นที่ตัดกันอย่างรุนแรง ทุกส่วนประกอบ
เชื่อมต่อกับรูปทรงกันอย่างพอดี ความเรียบและผิวที่ขรุขระ ประสาน กลมกลืน กับปริมาตรที่มี
สัดส่วนแต่ละช่วงที่เหมาะสม ทำให้สาระสำคัญของส่วนต่าง ๆ เป็นไปตามที่ต้องการมากขึ้น
องค์ประกอบเป็นส่วนรอง การจัดวางโครงสร้างรูปทรงกับที่ว่าง (Space) , ช่วงล่าง
แนวนอนมีทิศทางที่สงบนิ่ง ขัดแย้งกับช่วงบนที่เป็นกลุ่มปริมาตร บิดโค้ง ทเแยงไปมา ตลอดทั้ง
ขึ้นส่วนของรูปทรงวัตถุประเภทต่าง ๆ ที่เรียงตัวตามทิศทางโครงสร้างรองลดหลั่นกัน
จังหวะและลีลาของรูปทรงได้กำหนดให้มีความเคลื่อนไหวมากยิ่งขึ้นโดยรูปทรงชิ้นส่วน
ที่มีความต่อเนื่องเป็นรูปทรง โค้งงอ เคลื่อนไหวไปตามโครงสร้างของรูปทรงกำหนดผ่า แยกชิ้นส่วน
แทงทะลุกลุ่มปริมาตร มีทิศทางกระจัดกระจายตามลักษณะท่าทางของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดจังหวะ
บิดม้วน ความเป็นกลุ่มก้อนของปริมาตร
พื้นผิว ถูกสร้างให้มีความหยาบไม่แตกต่างกันมาก ลักษณะของความขรุขระสร้างแทน
ค่าของน้ำหนักในวัสดุที่ใกล้เคียงกับวัตถุจริง ริ้วรอยต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องช่วยส่งผลให้มี
ปริมาตรมีลักษณะเคลื่อนไหว สลับสับเปลี่ยนกันซึ่งเป็นการช่วยให้รูปทรงมีความรู้สึกน่าสนใจอยู่
ตลอดเวลา และไม่ให้มีความสำคัญมากไปกว่าโครงสร้างหลัก ที่ทำหน้าที่เป็นแกนหลักของรูปทรง
รวมทั้งหมด
รูปทรงประติมากรรมชิ้นนี้ ถูกกำหนดการจัดวางในลักษณะทับซ้อนกับสอดประสาน
ที่มีความสำคัญ คือ ส่วนที่รูปทรงอึดอัด ยึดยาด จะถูกทำให้ซ้ำ ๆ กัน ในเรื่องขนาดและสัดส่วน
ลดหลั่นกันไปแล้ว ยังนำรูปทรงขึ้นส่วนแทงทะลุผ่านรูปทรงอวัยวะแสดงส่วนสำคัญทั้ง 2 ด้าน
โดยคำนึงถึงทิศทางตำแหน่งของรูปทรงไม่ให้สมดุลกัน แต่แสดงส่วนที่สำคัญให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Type:
Is part of:
วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต เรื่อง "รูปทรงความเจ็บปวดแห่งสังคมบริโภค"
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
68