วรรณกรรมลานนาไทยเรื่อง พรหมจักร : การศึกษาเชิงวิเคราะห์
Other Title:
Brahmahmacakra, the literary work of Lanna Thai : an analytical study
Author:
Subject:
Date:
1981
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
จุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องพรหมจักร อันเป็นรามเกียรติ์สำนวนท้องถิ่นของลานนาไทย ซึ่งปรากฏในตันฉบับใบลาน จารึกด้วยอักษรลานนาไทย สำนวนที่ได้มาจากวัดต๋อมใต้ จังหวัดพะเยา โดยพิจารณาด้านลักษณะอักษรและอักขรวิธีของอักษรล้านนาไทยที่ใช้บันทึกวรรณกรรมเรื่องนี้ และด้านเนื้อหาของเรื่องตลอดจนคุณค่าทางสังคมที่สอดแทรกอยู่ในวรรณกรรมเรื่องนี้
เนื้อหาของวิทยานิพนธ์แบ่งออกเป็น 6 บท บทที่ 1 เป็นบทนำ กล่าวถึงความสำคัญของเรื่องที่วิจัย ความมุ่งหมายของการวิจัยตลอดจนวิธีการศึกษาค้นคว้า บทที่ 2 เป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณกรรมลานนาไทยและวรรณกรรมชาดก บทที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ทางด้านอักษรและอักขรวิธีของอักษรลานนาไทยที่ใช้บันทึกวรรณกรรมเรื่องนี้ บทที่ 4 เป็นการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาของเรื่องตามแนวการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรม บทที่ 5 เป็นการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงสังคม บทที่ 6 เป็นบทสรุปและ เสนอแนะ
ผลการวิจัยมีดังนี้คือ อักษรและอักขรวิธีของอักษรลานนาไทยที่ใช้บันทึกวรรณกรรมเรื่องนี้มีลักษณะเป็นของตัวเองต่างจากลักษณะอักษรและอักขรวิธีชองอักษรไทยปัจจุบันเป็นอักษรที่ได้แบบอย่างมาจากอักษรมอญหริภุญไชย ทางด้านเนื้อหาของเรื่อง เรื่องพรหมจักรเป็นเรื่องที่อาศัยเค้าโครงเรื่องมาจากรามเกียรติ์ โดยอู้แต่งได้นำมาดัดแปลงแก้ไขให้เป็นชาดก เพื่อสั่งสอนผู้อ่านผู้ฟังให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม ผู้แต่งใช้คำเรียบ ๆ ง่าย ๆ แต่ก็สมบูรณ์ด้วยความหมายอันทำให้ผู้อ่านผู้ฟังนึกเห็นภาพพจน์และเกิดอารมณ์สะเทือนใจร่วมไปกับผู้แต่งได้เป็นอย่างดี ทางด้านสังคมวรรณกรรมเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนความเชื่อ และวัฒนธรรมประเพณีของชาวลานนาไทยหลายประการ The purpose of this research is to study and analyze the story of Brahmacakra ( or Ramayana ) which is recorded with Northern Thai scripts in dried palm leaves. The manuscripts are taken from Tomtai Temple, Payau province. The scope of this study includes an examination of the orthography and orthographic conventions of the manuscripts and an examination of the work as literature and its relationship to its social context.
The thesis is presented in six chapters. The first chapter is an introduction which presents the major points of the analysis and discusses the methodology used in the research. Chapter two presents basic knowledge of Northern Thai literature and Jataka Tales. Chapter three presents an analysis of the orthography and orthographic conventions of Northern Thai scripts written in this story. Chapter four presents a literary analysis. Chapter five analyzes the work from the point of view of its social contexts. Chapter six gives conclusions and suggestions for further research.
This research has led to the following conclusions. First, the orthography and orthographic conventions used in this manuscript show specific characteristics which differ from the present Thai ones. The scripts are like Hariphoonchai Mon scripts. Second, this story is derived from Ramayana and the poet changes it into a Jataka Tale in order to teach listeners of readers. The poet uses simple words but complete in their meanings, The listeners can have a lot of imagination and deep emotion. Finally, with respect to social contexts, this story allows us to see many aspects of Northern Thai society, life, beliefs and several interesting customs.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย)) -- มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2524 Thesis (M.A. (Thai epigraphy)) -- Silpakorn University, 1981)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
442