พระเจดีย์หลวงเมืองเชียงใหม่ : รูปแบบศิลปกรรมและรูปทรงสันนิษฐานภาพ 3 มิติ
Other Title:
Phra Chedi Luang in Chiang Mai : style and 3D pictoral assumption
Author:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ปัจจุบันมักมีโครงการเสนอให้มีการต่อยอดหรือบูรณะพระเจดีย์หลวงให้สมบูรณ์เต็มองค์ แต่ยังมีประเด็นปัญหาว่าส่วนยอดของพระเจดีย์หลวงที่พังทลายไปควรเป็นรูปแบบใด การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบพระเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการตรวจสอบหลักฐานทางเอกสาร รูปแบบศิลปกรรม รวมถึงลวดลายปูนปั้นประดับตกแต่งเปรียบเทียบกับเจดีย์องค์อื่นที่สร้างร่วมสมัยกัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นรูปทรงสันนิษฐานด้วยการสร้างภาพ 3 มิติ ซึ่งเป็นการนำเสนอให้เห็นถึงรูปแบบศิลปกรรมขององค์พระเจดีย์หลวงแบบสมบูรณ์โดยไม่จำเป็นต้องต่อยอดจริง ผลจากการศึกษาอาจสรุปได้ว่า
1. รูปแบบสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์หลวงส่วนใหญ่น่าจะเป็นงานสร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช เนื่องจากเมื่อตรวจสอบรูปแบบและลวดลายที่ปรากฏกำหนดอายุได้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งตรงกับสมัยของพระองค์ สอดคล้องกับหลักฐานทางด้านเอกสารที่ระบุถึงการเปลี่ยนแปลงส่วนยอดของพระเจดีย์หลวงมาเป็นทรงกระพุ่มยอดเดียวในสมัยนี้
2. ส่วนยอดของพระเจดีย์หลวงที่พังทลายไป ยังคงปรากฏร่องรอยชุดฐานบัวถลา 3 ชั้น ในผังแปดเหลี่ยม รองรับองค์ระฆัง ซึ่งสันนิษฐานว่าชุดฐานบัวถลาในผังแปดเหลี่ยมนี้ควรเป็นงานบูรณะในสมัยพระเมืองแก้ว หรือกลางพุทธศตวรรษที่ 21 มาแล้ว เพราะพบหลักฐานที่กล่าวถึงการสร้างหรือบูรณะเจดีย์หลายองค์ในรัชกาลนี้ที่มีฐานบัวในผังแปดเหลี่ยม ซึ่งพบทั้งเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงปราสาทยอด และควรเป็นงานบูรณะก่อนเจดีย์วัดหนองจริน เนื่องจากสัดส่วนของเจดีย์ยังไม่เปลี่ยนแปลงให้ยืดสูงมากนัก
3. ส่วนที่มีการเปรียบเทียบส่วนยอดของพระเจดีย์หลวงกับส่วนยอดเจดีย์วัดเชียงมั่นว่ามีความใกล้เคียงกันมากที่สุดนั้น อาจเป็นไปได้ว่าการก่อกวมเจดีย์วัดเชียงมั่นครั้งหลังโดยพญาแสนหลวง ในปี พ.ศ. 2114 ได้มีการจำลองรูปแบบมาจากพระเจดีย์หลวงซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนามาเป็นต้นแบบให้วัดเชียงมั่น จึงทำให้ลักษณะยอดตั้งแต่ชั้นหลังคาลาดขึ้นไปของพระเจดีย์หลวงและเจดีย์วัดเชียงมั่นมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน Todays, there are some projects have been proposed to reconstruct and restore the upper section of Phra Chedi Laung, however, the main issue arises since nobody knows the completed structure originally. The purpose of this research is to study the style of Phra Chedi Luang at Chiang Mai by gathering documentary evidence, artistic evidence, including stucco motif and comparing with others chedi. The collecting data is used to create 3 D pictorial assumption that presented the style of Phra Chedi Luang completely. The result of study concludes as follow.
1. The architectural style of the Phra Chedi Luang is most probably built in the reign of King Tilokaraj due to the examining style and motifs that appear in the late of 20th century to early 21st century, is conformed with the evidence of documents mentioned the upper section changed to one spire-topped in this reign.
2. The top of the Phra Chedi Luang that is destroyed still remained a three-tiered sloping mould is placed in octagon plan to support bell-shape form of chedi. This assumes that the three-tiered sloping mould in octagon shape should be restored in the reign of King Muang Kaew or in the middle of 21st century ago because there was found both of bell-shaped chedi and one-spire-topped prasat-type chedi that changed from a round shape to octagonal shape in this period. As the proportion of Phra Chedi Luang should be restored before Wat Nong Chalin chedi which was stretched the scales higher in the same period.
3. The comparison of the upper section of the Phra Chedi Luang to Chedi Chiang Man that is the most similar. It is possible that the reconstructed of Chedi Chiang Man by Phaya Sean Luang, is an exact replica of Phra Chedi Luang reflected by the top of both chedi are similar to each other.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
1980