สัตว์ประดับและบริวารของทวารบาล : ที่มา คติการสร้าง รูปแบบและพัฒนาการจากสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

Other Title:
Mythological creatures surounding the door guardians : the origin, ideology, styles and development from Late Ayutthaya period to the Early Rattanakosin period
Author:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ทวารบาลในศิลปะอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ตอนต้น นอกจากจะทำเป็นรูปเทวดา เสี้ยวกาง และเทพในศาสนาฮินดูแล้ว มักมีการใช้รูปสัตว์ประเภทต่าง ๆ ในหน้าที่ทวารบาล โดยมีทั้งที่ปรากฏเดี่ยวเพียงลำพังและที่ปรากฏร่วมกับทวารบาลรูปแบบอื่น การปรากฏที่แตกต่างกันยังสามารถบอกให้ทราบถึงหน้าที่ในฐานะทวารบาลที่แตกต่างกันของสัตว์เหลานั้นได้อีกด้วย โดยสัตว์บางชนิดเป็นเพียงส่วนประกอบให้รู้ลักษณะทางประติมานวิทยาของเทวดา ในขณะที่สัตว์บางชนิดทำหน้าที่เป็นทวารบาล โดยจะทำหน้าที่เป็นทวารบาลตามคติหลักประการใดประการหนึ่งหรือมากกว่าก็ได้ใน 3 ประการ คือ รักษา บูชา และอวยพร
ในทางพัฒนาการศิลปะอยุธยาตอนต้นและตอนกลางส่งอิทธิพลทางคติและรูปแบบของสัตว์ที่ปรากฏเป็นทวารบาลหรือสัตว์ที่ประดับร่วมกับทวารบาลรูปเทวดาหรือรูปบุคคลประเภทอื่น โดยมีการแทรกเข้ามาของอิทธิพลของศิลปะจีนและความเชื่อของศาสนาฮินดูเป็นระยะจึงเกิดเป็นทวารบาลรูปเสี้ยวกางเหยียบสิงโต และเทพในศาสนาฮินดูและสัตว์พาหนะแทนรูปเทวดา จนถึงช่วงต้นของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังคงรับเอารูปแบบของอยุธยาตอนปลายเป็นหลัก และช่วงปลายของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจึงได้มีพัฒนาการไปสองทางคือรับเอารูปแบบอิทธิพลศิลปะจีน โดยใช้สิงโตจีนเป็นทวารบาล และมีการใช้แบบของตัวเองโดยใช้รูปสัตว์หิมพานต์เข้ามาใช้ประกอบทวารบาลรูปเทวดา
ดังนั้น ที่มา คติการสร้าง รูปแบบและพัฒนาการของสัตว์ประดับและบริวารของทวารบาลในสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ตอนต้นจึงมีความเกี่ยวข้องสืบต่อกันมาโดยมีการแทรกแซงของอิทธิพลจีนเป็นระยะเรื่อยมา และเริ่มมีการใช้แบบใหม่คือรูปสัตว์หิมพานต์เป็นพาหนะของเทวดาในช่วงปลายของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนจะเปลี่ยนไปใช้รูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นในสมัยต่อมา Apart from door guardians in the form of Dhevata, Siewkang and Hindu gods, in the period of late Ayutthaya and early Rattanakosin door guardian in the form of mythological and real creatures are also found. Some appear alone while the others come with another figures. The different appearance and location can determine their functions. Some creatures can be door guardians themselves while the others are merely part of door guardians. The door guardians may play any of the following 3 roles : the keeper, the worshipper, and the well-wisher.
The art forms of early and middle Ayutthaya have influenced the development of the ideology and style of the creatures both appeared alone as door guardians and shown with Dhevata of other kinds of door guardians. From time to time, Chinese art and Hindu belief have intervened. Therefore, one may also find door guardians in the form of Siewkang mounting a lion and in the form of Hindu gods mounting their animal vehicles. In the earlier period of early Rattanakosin, the art form of late Ayutthaya still exists and starts to mix with Chinese art in the reign of King Rama II (King Buddha loetla Nabhalai). The strongest Chinese influence on the ideology and style of Rattanokosin art appears in the reign of King Rama III (King Nangklao) as seen from the Chinese lions acting as door guardians. In the later period of early Rattanakosin, the new art form reveals itself as seen from the use of Himavanta creatures as vehicles of Dhevata door guardians.
In sum, the origin, ideology, style and development of mythological creatures surrounding door guardians from late Ayutthaya period to the early Rattanakosing period have continuously connected, plus some interventions of Chinese influence from time to time. The use of Himavanta creatures as vehicles of Dhevata occurs in the period of early Rattanakosin. And after that there are more various art forms of accompanying animals and other subjects surrounding door guardians.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
1661