การวิเคราะห์จิตรกรรมฝาผนังเรื่องอดีตพระพุทธเจ้าในวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม
Other Title:
Analysis of mural paint of the previous buddha's life at Wat Suthat Thepphawararam
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษางานจิตรกรรมอดีตพุทธทั้ง 27 พระองค์ ภายในวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม โดยการศึกษาครั้งนี้จะทำการวิเคราะห์ฉากหรือตอนที่ศิลปินได้นำเสนอในงานจิตรกรรม เมื่ออดีตพุทธแต่ละพระองค์มีเรื่องราวที่คล้ายคลึงกันและมีความแตกต่างตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์ทางศาสนา ดังนั้นศิลปินผู้วาดจึงยึดหลักการเลือกเรื่องราวที่แตกต่างกันตามเนื้อหาที่ระบุไว้ภายในคัมภีร์ โดยเลือกเพียงสิ่งที่สามารถแสดงออกได้ในงานจิตรกรรมมานำเสนอเพียงสองอย่างคือ ฉากแสดงฐานะชาติกำเนิดและฉากออกมหาภิเนกษกรมณ์ ทั้งนี้เรื่องราวที่ศิลปินให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือ ฉากที่พระอดีตพุทธพบพระโพธิสัตว์หรืออดีตชาติของพระพุทธเจ้าศรีศากยมุนีพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันของเราและได้รับพุทธพยากรณ์ว่าจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
นอกจากนั้นยังทำการเปรียบเทียบจิตรกรรมอดีตพุทธที่วาดขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้ทราบว่าจิตรกรรมอดีตพุทธที่วัดสุทัศน์ฯ นั้น ถือว่าเป็นจิตรกรรมอดีตพุทธที่ถูกต้องตรงตามคัมภีร์ทางศาสนาและสมบูรณ์แบบที่สุด
การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาเห็นว่า เหตุที่ปรากฏจิตรกรรมอดีตพุทธภายในวิหารหลวงแห่งนี้ คงเป็นเพราะคติความเชื่อการสร้างวัดกลางเมืองเป็นศูนย์กลางจักรวาล ส่วนในรูปแบบจิตรกรรมอดีตพุทธที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนั้นผู้ศึกษาเห็นว่า เป็นเพราะในสมัยนั้นมีการติดต่อสร้างสัมพันธ์ทางพุทธศาสนากับประเทศลังกา พบว่ามีการนำคัมภีร์ทางศาสนากลับมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมีคัมภีร์ทางศาสนาที่ปรากฏเรื่องราวอดีตพุทธครบถ้วน จนสามารถทำให้ศิลปินผู้วาดจิตรกรรมนั้นสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างถูกต้องตรงตามคัมภีร์ทางศาสนาอีกทั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้นมีงานสร้างสรรค์ทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากมาย งานจิตรกรรมอดีตพุทธที่มีรูปแบบแปลกใหม่นี้ก็คงจะเป็นหนึ่งในนั้นด้วย This research is aim to study the mural painting of the 27th previous buddha’s life which was painted in Vihara of Wat Suthatthepvararam. By analyzing in the topics of the same and difference scene of the buddha’s life which have been chosen from Tripitaka (the Buddhist text) exhibited on the walls. These scenes have been selected by artisans, who got well known in Buddhist text, displayed a visible and possible with 2 scenes : The origin of the Buddha birth’s story and The ordained scene of the Buddhas. Particularly the great scene that ever shown in every previous Buddha, so called : The Lord Buddha to be meet the previous Buddha. Which it means extremely, be forcasted to be the Buddha (Gautama) in the future.
Beside this research will made the comparison with the same story among many temples that were painted in the same period. The result is showing one of the most correction and completion mural painting, based on Tripitaka, depicted in.
The result of this research reported that the mural painting of previous Buddhas was derived the major conceptual from The center of the Universe ideology. Beside the evolution of an art form of mural painting which had been changed into the difference style due to the Buddhist culture exchanging of the relationship between Thai and Sri Lanka. An arrival of the Buddhist texts was brought to the country which it was probably displayed the completely contexts the previous Buddha’s story though. Be Inspired toward the artist to created their art work upon the text one.
Moreover, a several kind of the Thai art works had created in the reign of King Rama III that the marvelous mural painting of this temple would be occurred in this period also.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
705