ประเพณีประดิษฐ์บุญบั้งไฟบ้านนาทราย ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
Other Title:
INVENTED TRADITION OF BAN NASAI ROCKET FESTIVAL, TOMBON WANGBAN, AMPHOE LOM KAO, PHETCHABUN
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบุญบั้งไฟบ้านนาทรายผ่านกระบวนการสร้างประเพณี โดย
ใช้แนวคิดประเพณีประดิษฐ์ (Invented Tradition) และศึกษาแนวทางการจัดการประเพณีบุญบั้งไฟในบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมบ้านนาทราย ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กรอบแนวคิด ประเพณี
ประดิษฐ์ ของ ฮอบส์บอว์ม (Hobsbawm) มาเป็นกรอบในการศึกษา และเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต
แบบมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในบุญบั้งไฟบ้านนาทราย
ผลการศึกษาพบว่าบุญบั้งไฟบ้านนาทราย ผ่านกระบวนการประดิษฐ์ ต่อเติม ปรุงแต่ง โดยการ
“อ้างอิงอดีต” ชุมชนได้หยิบยกวัตถุดิบทางวัฒนธรรม ได้แก่ ตานาน เรื่องเล่า พิธีกรรม ศาสนา มาเป็นเครื่องมือ
ในการต่อรองทางสังคมเพื่อการดำรงของประเพณีและระบบความเชื่อเรื่องผีเจ้าพ่อ เจ้าแม่ จากอดีตจนถึง
ปัจจุบัน ผ่านห่วงเวลา 3 ยุคสมัยคือ ประเพณีบุญบั้งไฟในยุคก่อตั้งชุมชน เกิดจากการนำวัตถุดิบทางวัฒนธรรม
ได้แก่ ตำนาน เรื่องเล่าผีบรรพบุรุษหรือเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ในเชิงปาฏิหารย์ ที่สัมพันธ์กับอดีตชุมชนมาเป็นตัวก่อ
สร้างประดิษฐ์เป็นประเพณีขึ้นมาแบบเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ยุคพัฒนา เกิดกระบวนการประดิษฐ์วัตถุดิบทาง
วัฒนธรรมขึ้นมาใหม่อันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม “ศาสนา” ถูกนำมาใช้เป็น
เครื่องมือในการทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟสามารถดำรงอยู่ได้ และยุคปัจจุบัน บุญบั้งไฟถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ
ในการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจอันชอบธรรม ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่า (เจ้าพ่อเจ้าแม่) และกลุ่มอำนาจใหม่ (ภาครัฐ)
และประเพณียังถูกใช้เป็นพื้นที่ในการต่อรองเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ เพียงแต่การต่อรองในงาน
บุญบั้งไฟบ้านนาทรายเกิดจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์
การศึกษาประเพณีประดิษฐ์ ไม่ใช่แค่ทำให้เข้าใจกระบวนการสร้างประเพณีเท่านั้น แต่ยังทำให้
เห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับอดีตชุมชนที่พยายามสร้างกฎระเบียบทางสังคมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบ
ของประเพณี เมื่อถอดบทเรียนชุมชนก็พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มต่างๆ ที่เข้ามาจัดการประเพณี
ในห่วงเวลาที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรวัฒนธรรมจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เกิดจากการ
เคารพรากเหง้า ความเชื่อของชุมชน และหากหน่วยงานท้องถิ่นหรือกลุ่มต่างๆ ที่ต้องการส่งเสริมหรือพัฒนา
งานประเพณี ควรสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนเพื่อไม่ให้ประเพณี ความเชื่อของท้องถิ่นที่สืบทอดกัน
มาถูกพัฒนาไปเพียงแค่ความสนุกสนานรื่นเริง หรือตอบสนองต่อสังคมสมัยใหม่จนลืมรากเหง้าพิธีกรรมดั้งเดิม
เพราะจะทำให้กลายเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนและสูญเสียความจริงแท้ของพิธีกรรมเฉกเช่นอดีตที่ผ่านมา
Description:
ก-ฑ, 179 แผ่น : ภาพประกอบ
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
307