รายงานการวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์โรคและพืชสมุนไพรในคัมภีร์จรกสัมหิตา"
Other Title:
An Analytical Study of Diseases and Herbal Plants in Caraka Saṃhitā
Author:
Subject:
Date:
2015
Publisher:
ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาพบว่า คัมภีร์จรกสัมหิตาน่าจะถูกแต่งขึ้นในราวต้นคริสตกาลจนถึงประมาณศตวรรษที่ 6 การจำแนกหรือการจัดหมวดหมู่ ในคัมภีร์จรกสัมหิตาเรียกว่า วิภาควิทยา (วิภาควิทฺยา) เป็นจุดเด่นสำคัญประการหนึ่งของคัมภีร์จรกสัมหิตาซึ่งส่งต่อให้กับคัมภีร์อายุรเวทอื่นๆ ในภายหลัง สิ่งต่างๆ รวมถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ถูกจำแนกออกอย่างเป็นระบบ เช่น การจำแนกสาขาของอายุรเวทเป็น 8 สาขา การจำแนก ทฺรวฺย คือ สารสำคัญ เป็น 3 ประเภท ซึ่งตรงกับหลักเภสัชวัตถุของแพทย์แผนไทยที่แบ่งเป็น 3 เหมือนกันคือ พืชวัตถุ สัตววัตถุ และธาตุวัตถุ
โรคในคัมภีร์จรกสัมหิตา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคที่มีการจัดหมวดหมู่ และโรคที่ปรากฏเดี่ยวๆ ไม่มีการจัดหมวดหมู่
โรคที่มีการจัดหมวดหมู่นั้นมีทั้งหมด 8 หมวด รวม 64 ชนิด
โรคที่ปรากฏเดี่ยวๆ ไม่มีการจัดหมวดหมู่ มีทั้งหมด 141 ชนิด
รวมโรคทั้งหมดที่ปรากฏในคัมภีร์จรกสัมหิตามี 205 ชนิด
การศึกษาวิเคราะห์พบพืชสมุนไพรทั้งหมดมี 336 ชนิด พบพืชสมุนไพรที่มีชื่อภาษาไทยมีจำนวน 232 ชนิด ยังไม่พบชื่อในภาษาไทยจำนวน 104 ชนิด เปรียบเทียบพบสมุนไพรที่นิยมใช้ในประเทศไทย 44 ชนิด และพบการใช้ในตำราแพทย์แผนไทยทั้งหมด 82 ชนิดนั้น พืชสมุนไพรที่พบมากที่สุดในตำรับยาแพทย์แผนไทย 5 ลำดับ คือ 1. พริกไทย 2. แห้วหมู 3. ชะเอมเทศ 4. อบเชยต้น 5. สะเดา
นอกจากนี้ยังพบความเหมือนและความต่างในการใช้พืชสมุนไพรในคัมภีร์จรกสัมหิตากับตำราแพทย์แผนไทย สมุนไพรที่ใช้ส่วนใหญ่มักมีสรรพคุณเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คัมภีร์จรกสัมหิตาซึ่งส่วนหนึ่งแต่งเป็นโศลกร้อยกรองให้รายละเอียดในทางสรรพคุณได้น้อยกว่าตำราแพทย์แผนไทยที่ส่วนใหญ่แต่งเป็นร้อยแก้วซึ่งเหมาะแก่การพรรณนามากกว่า ในด้านการประกอบยาจะพบว่าคัมภีร์จรกสัมหิตามีการใช้เป็นยาเดี่ยวจำนวนมาก แต่ตำราแพทย์แผนไทยนิยมใช้เป็นยาตำรับ ส่วนการใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรนัเนพบว่า แพทย์แผนไทยมีการใช้ส่วนต่าง ๆ ที่หลากหลายมากกว่าในคัมภีร์จรกสัมหิตา อาจเป็นเพราะยุคสมัยที่ต่างกันนับพันปี The study shows that the Caraka Saṃhitā was composed around 1st century upto 6th century. The content of text was divided into several segments called Vibhāgavidya. This division gives fundamental idea to the later Ayurvedic texts. The systematic grouping of branches, parts of human body, desises, medicines etc. is described in the text. This plays important role in developing the Ayurvedic studies. Fundamental idea such as 8 branches of Ayurveda, Dravya or substances of medicine was followed by later Ayurvedic texts. It is interesting to note that the division of medicine substances into 3 groups i.e. Plants, Animals and Minerals is the same as in Thai traditional medicine.
Diseases in Caraka Saṃhitā can be divied in to two types i.e. grouping and ungrouping. The groupting diseases are 64 in 8 groups. The ungrouping deseases are 205. In total 205 diseases are found in Caraka Saṃhitā.
The study shows 336 medicinal plants discovered in Caraka Saṃhitā, out of which 232 have Thai names and 104 are not available in Thai. Among those herbal plants, 82 are regularly engaged in Thai traditional medicine. The top 5 herbs frequently found in Thai traditional medicine are namely; 1) Black pepper 2) Nut grass 3) Liquorice 4) Cinnamon and 5) Margosa tree.
It is noteworthy here that there are both similarity and difference between the therapies of herbal plants in Caraka Saṃhitā and in Thai traditional medicine. In the term of similarity, most of herbal plants are used in the same manners. Caraka Saṃhitā, which was composed partly in verses, provides lesser details of herbal properties than Thai traditional medicine texts, which was in proses. In the term of differences, the therapy in Caraka Saṃhitā is mostly Mono-herbal. On the contrary, the Multi-herbal therapy is prevalent in Thai traditional medicine texts. According to Thai traditional medicine all parts of herbal plants are utilized, not like that in Caraka Samhita, in which only some parts are used. It is likely due to the difference of periods, i.e. nearly millennium of years.
Type:
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
2548