ลวดลายประดับแบบอิสลามในศิลปะไทย (พุทธศตวรรษที่ 21-23)

Other Title:
Islamic motif decorative in Thai art (16th-18th centuries A.D.)
Author:
Subject:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลและแรงบันดาลใจของศิลปะอิสลามต่อศิลปะไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-23 โดยศึกษาจากลวดลายประดับในศิลปะไทยทั้งในและนอกเขตราชธานี รูปแบบของลวดลายที่ศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ ประเภทลายเรขาคณิต และประเภทลายที่มีมาจากธรรมชาติ โดยจำแนกออกตามลักษณะที่พบ คือ กลุ่มลายเส้นสอดไขว้ กลุ่มลายสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม กลุ่มลานก้านขด ลายคล้ายในไม้สามเหลี่ยมมีก้านใบม้วนออก และลายพรรณพฤกษาประกอบสัตว์
จากการศึกษา สรุปผลได้ดังนี้
1. ลวดลายประดับในศิลปะไทยที่ทำการศึกษา พบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะได้รับแรงบันดาลใจที่มีต้นเค้ามาจากศิลปะอิสลาม โดยอาจได้รับโดยตรงหรือผ่านแหล่งบันดาลใจอื่น เช่น จีนและพม่า
2. ลวดลายประดับที่พบในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-23 สันนิษฐานว่าบางส่วนอาจเกี่ยวข้องหรือมีพัฒนาการมาจากศิลปะไทยที่เกี่ยวข้องกับศิลปะอิสลามอยู่ก่อน เช่น ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21 และบางส่วนอาจเป็นการรับอิทธิพลหรือแรงบันดาลใจในศิลปะอิสลามโดยตรงที่ได้ผ่านเข้ามาจากกลุ่มชาวมุสลิม วัตถุสินค้า หรือบรรณาการในวัฒนธรรมอิสลาม รวมทั้งบางส่วนอาจได้รับผ่านมาทางศิลปะจีน ที่ได้มีการผสมผสานและปรับใช้ศิลปะอิสลามมาเป็นลักษณะของตนเองอยู่ก่อน
3. จำนวน ประเภท และแหล่งของหลักฐานที่พบ ยังเป็นส่วนชี้แนะให้เห็นองค์ประกอบในการสร้างงาน อันมีที่มาจากกลุ่มชนชั้นระดับสูงของสังคมผู้อุปถัมภ์งานศิลปะ ซึ่งนอกจากแรงบันดาลใจจากแหล่งงานศิลปกรรมจากภายนอกแล้ว บุคคลกลุ่มดังกล่าวนับเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางของงานศิลปะที่มีส่วนให้เกิดการนำแรงบันดาลใจจากศิลปะอิสลามหรือศิลปะอื่น ๆ เข้ามาใช้ในศิลปะไทย This research is aimed to study the Islamic influence on the decorative motifs during the 16th – 18th centuries A.D. of the Ayutthaya period. The studied motifs were created either inside or outside the Ayutthaya kingdom and can be divided into 2 groups, the geometric group and the nature – inspired one. As for the second, considering their features, the researcher categorized them into 5 groups : binding motifs, multi – angular motifs, tendril motifs, triangular – leaf motifs with curving stems, and floral motifs inserted with animals.
The results of the research are as follows :
1. The studied motifs were possibly inspired by the Islamic art. It is presumed that the inspiration was gained either in the direct way or by means of China and Myanmar.
2. Some of the motifs were probably developed from the earlier Thai – style ones which were also influenced by the Islamic art, especially the Thai – style motifs made during the 14th – 16th centuries. During the stated period, the Islamic inspirations were possibly gained from goods and tributes from the Islamic world. It is also presumed that the influence was through the Chinese art.
3. It is found that the key factor resulting in the presence of the Islamic art in the studied period was the elite group which was the most important upholders of artisans at that time.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
1569