สถานสงเคราะห์เด็กอ่อน : บทบาทในการขัดเกลาทางสังคม กรณีศึกษา : สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2017
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานศึกษาเรื่อง “สถานสงเคราะห์เด็กอ่อน : บทบาทในการขัดเกลาทางสังคม
กรณีศึกษา : สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี”
มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการของสถานสงเคราะห์ในการช่วยเหลือดูแลเด็กใน
สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต และเพื่อศึกษาพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัย 4-6 ปี ที่ได้รับ
การดูแลจากเจ้าหน้าที่ในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต โดยศึกษาผ่านการเก็บข้อมูลกลุ่มบุคคล
2 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต ได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์
นักจิตวิทยา พี่เลี้ยงเด็ก ครู และศึกษาเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต โดยเลือกช่วงอายุที่จะศึกษา คือ ช่วงวัย 4-6 ปี
ผลการศึกษาพบว่า บทบาทในการขัดเกลาทางสังคมของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต
แบ่งตามองค์ประกอบของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมเป็น 3 ด้าน คือการขัดเกลาทางด้านจิตใจ
การขัดเกลาทางด้านสติปัญญา และการขัดเกลาทางด้านพฤติกรรม โดยการขัดเกลาด้านจิตใจ
ที่ถึงแม้ว่าเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มเพื่อนได้
ผ่านการเลี้ยงดูเอาใจใส่จากพี่เลี้ยงและคุณครูในการช่วยพัฒนาปรับสภาพจิตใจและอารมณ์ให้แก่เด็ก
การขัดเกลาด้านสติปัญญาจะมีการสนับสนุนและส่งเสริมทั้งทางด้านวิชาการและกิจกร รมต่างๆ
มีการจัดการเรียนการสอนภายในสถานสงเคราะห์ให้เด็กได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนกันกับเด็ก
ทั่วไปในสังคม ประกอบกับมีการจัดห้องเรียนแบบมอนเตสซอรี่ พร้อมสื่อการสอนและอุปกรณ์
ที่เสริมสร้างให้เด็กมีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และการขัดเกลาด้านพฤติกรรมนั้น พี่เลี้ยงซึ่งมีความใกล้ชิด
กับเด็กมาที่สุดจะคอยสังเกตลักษณะนิสัยของเด็กแต่ละคน รวมทั้งคุณครูก็จะสังเกตเด็กแต่ละคนเวลา
อยู่ในห้องเรียนด้วยเช่นกัน เด็กในช่วงวัยนี้จะมีการเรียนรู้จากการสังเกตเห็นแบบอย่างของพฤติกรรม
จากบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด ทุกอย่างล้วนมีอิทธิพลในการขัดเกลาพฤติกรรมเด็กแต่ละคนในสถานสงเคราะห์ทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมด้านต่างๆ ให้กับเด็ก เพื่อเป็น
อีกทางในการขัดเกลาและส่งเสริมประสบการณ์การใช้ชีวิต ให้เด็กที่เติบโตขึ้นมาในสถานสงเคราะห์
ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมเหมือนๆ กับเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวทั่วไปในสังคม อีกทั้งสิ่งแวดล้อมภายในสถานสงเคราะห์จะขัดเกลา หล่อหลอม และทำให้เด็กซึมซับเข้าไปโดยที่ไม่รู้ตัว การขัดเกลา
ทางสังคมของสถานสงเคราะห์ต่อเด็กในสถานสงเคราะห์แห่งนี้ ล้วนแล้วแต่จะทำให้เด็กๆ เหล่านี้
มีพัฒนาการการเรียนรู้ บุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย การเจริญเติบโตที่เป็นไปอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย
มีการประพฤติปฏิบัติตนเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด รู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นและอยู่ร่วมกันได้
ตลอดจนสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชามานุษยวิทยา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
1317