Siamese Perception of Western Medicine from, 1827 - 1927
การรับรู้วิทยาการทางการแพทย์แผนตะวันตกของสังคมสยาม พ.ศ. ๒๓๗๑ - ๒๔๗๐
Author:
Subject:
Date:
4/7/2023
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This study has three main goals. The first goal is to investigate the traditional medical knowledge background prior to the introduction of Western medicine. The second goal is to investigate the major causes that influenced Siamese culture to embrace Western medical knowledge between 1828 and 1927. Finally, the final goal is to investigate the outcome of the spread of Western medicine information.
According to the findings of the study, Eastern Traditional especially Siamese Medicine integrates Indian and Chinese expertise. It is based on religious concepts that are consistent with wisdom, beliefs, and traditional traditions. The leaders of the “ancient state or dramatic state” would establish a network of city-states with territorial power in the eastern region by managing for the happiness of the people. Traditional Siam Medicine was founded on Buddhist concepts and ancient beliefs known as “Saiyarak” the old testaments or herbal medicine textbooks, as well as prognosis of ailments derived from the past, such as: 1) Thai Traditional Medicine or ceremonial medicine practitioners such as mor pra, mor song (conjuror), mor dham, mor pon or mor su-kwan (Thai blessing healer, Jolmamuat worship and mor tam-yae (midwife). 2) External medicine, such as vedic medicine or “Ayurvedic,” Chinese medicine, which has been yin-yang theory and herbal medicine textbooks of the Yellow Emperor's “Huangdi Neijing,” and Western medicine, and Western or modern medicine from ancient Egypt, Greece, Rome, and the Arabs based on scientific principles such as surgery and the use of certain drugs. The arrival of the first missionaries in 1828 increased public and elite acceptance of Western medicine. When a severe smallpox epidemic struck in 1839, the Royal Doctor and missionary doctors worked together to successfully plant smallpox, can halt the epidemic and aid in the spread of knowledge and Western treatment throughout the districts. Which is the state's work in collaboration with the work of Western physicians who came to Siam People are made aware of public health action plans through medical and public health operations. Following that, the royal court became more aware of the value of Western medicine. Siam evolved into a medical state with the principles “Prevention is cheaper than cure” with the “medicalization” that has been successful by using laws, government orders, controlling, and increasing knowledge of Western medicine for the people successfully. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย ๓ ประการต้องการศึกษาภูมิหลังความรู้ทางการแพทย์แผนดั้งเดิมของสยามก่อนการเข้ามาของการแพทย์แผนตะวันตก ประการที่สอง เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้สังคมสยามเกิดการรับรู้วิทยาการทางการแพทย์แผนตะวันตก พ.ศ. ๒๓๗๑ - ๒๔๗๐ และประการที่สาม เพื่อศึกษาผลที่เกิดจากการกระจายความรู้ทางการแพทย์แผนตะวันตก
ผลการศึกษาพบว่า การแพทย์สยามแต่เดิมเป็นการแพทย์ตามแบบแผนตะวันออกที่ผสมผสานศาสตร์ทั้งอินเดียและจีนเข้าด้วยกัน โดยมีการเชื่อมโยงกับหลักศาสนาสอดคล้องกับภูมิปัญญา ความเชื่อ และแนวปฏิบัติดั้งเดิม ขณะที่ ผู้นำ “รัฐโบราณหรือรัฐนาฏกรรม” จะสถาปนาเครือข่ายนครรัฐด้วยอำนาจเหนือดินแดนในภูมิภาคตะวันออกเป็นการจัดการเพื่อความสุขของประชาชน การแพทย์ของสยามช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์จะสอดคล้องกับหลักพุทธศาสนาและความเชื่อทางโหราศาสตร์ ที่เรียกว่า “ไสยรักษ์” ตามพระคัมภีร์หรือตำรายาสมุนไพร ตลอดจนการทำนายโรคที่สืบเนื่องจากอดีต ประกอบด้วย ๑) การแพทย์แบบแผนโบราณหรือการแพทย์พิธีกรรม อาทิ หมอพระ หมอลำผีทรง (หมอลำผีฟ้า) หมอธรรม หมอพรหรือหมอสู่ขวัญ พิธีการโจลมะม๊วด และหมอตำแย ๒) การแพทย์ที่มาจากภายนอก อาทิ การแพทย์แผนอินเดียจากคัมภีร์พระเวทหรือ “การแพทย์แผนอายุรเวท” การแพทย์แผนจีนที่มีทฤษฎีความสมดุลหยินหยางและการรักษาด้วยตำรายาของจักรพรรดิ“หวงตี้ เน่ยจิ่ง” และการแพทย์แผนตะวันตกจากอียิปต์โบราณ กรีก โรมัน และอาหรับที่มีหลักการวิทยาศาสตร์ อาทิ การผ่าตัด และการใช้ยาบางขนาน การเข้ามาของมิชชันนารีคณะแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑ นำมาสู่การรับรู้การแพทย์แผนตะวันตกในหมู่ชนชั้นนำและประชาชนบางพวกมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเกิดการระบาดรุนแรงของไข้ทรพิษใน พ.ศ. ๒๓๘๒ ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างหมอหลวงกับแพทย์มิชชันนารีในการปลูกทรพิษเป็นผลสำเร็จ สามารถยับยั้งโรคระบาดได้ และสนับสนุนให้เกิดการกระจายความรู้ และการรักษาแบบตะวันตกลงไปสู่ประชาชนตามหัวเมือง ซึ่งเป็นการทำงานของรัฐควบคู่ไปกับการทำงานของแพทย์ชาวตะวันตกที่เข้ามาในสยาม การดำเนินกิจการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชาชนรับรู้แผนปฏิบัติการสาธารณสุข หลังจากนั้นราชสำนักจึงเห็นความสำคัญของการแพทย์แผนตะวันตกมากขึ้น ทำให้สยามวิวัฒน์สู่การเป็นรัฐเวชกรรมด้วยหลัก “การป้องกันถูกกว่าแก้” ด้วยมาตร “การแพทยานุวัตร” ที่ประสบความสำเร็จด้วยการใช้กฎหมาย คำสั่งราชการ การควบคุม และเพิ่มความรู้ด้านการแพทย์แผนตะวันตกให้แก่ประชาชนได้สำเร็จ
Type:
Discipline:
ประวัติศาสตร์ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
71