An Analytical Study of Pali Literature “Mahabodhivamsa”
การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมบาลีเรื่อง "มหาโพธิวํส"
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
วันที่:
4/7/2023
สำนักพิมพ์:
Silpakorn University
บทคัดย่อ:
The objectives of this thesis were to transcribe the Romanized text of the Mahabodhivamsa, using the version edited by Arthur Strong and published by the Pāli Text Society in 1891, into Thai characters, translate it from Pali language into Thai, and study its information in the aspect of essence and literature.
The results of this study were found that for the aspect of essence, there are six aspects of essence in the text: (1) aspect of beliefs: local beliefs, beliefs of Buddhism and beliefs of Hinduism. (2) historical aspect: the biography of important people, the Buddhist councils in India and the history of Bodhi tree in Lanka; (3) geographic aspect: location of sacred sites in Lanka (4) social and cultural aspect: social stratification, careers, feme sole, a reception for Mahindathera and monks, dancing of royal concubines and musical instruments; (5) aspect of social values: the beauty of women and the worship of the king who offers his throne as the offering to the three jewels; and finally (6) aspect of the Buddhist teachings: the teachings in this text are comprehensible to everyone, e.g., Tilakkhaṇa (the three characteristics), keeping the precepts (rules of morality), etc.
As for the aspect of literature, this pāli literature has four literary aspects, (1) the style of composition is both verse and prose, called Vimissa in Pali; (2) the Creativity of the content: the identity of the Buddha's biography in this text (3) the composer’s usage of Pāli language: the usage of sandhi (combination of words), samāsa (compounds), the composing of long sentences, locative absolute sentence in Pāli, the noun ending "bhi", synonyms for the Lord Buddha, coinage and loan words from Sanskrit language; and finally (4) the Alaṅkāra (literary embellishment) in Mahabodhivamsa, i.e., Saddālaṅkāra (verbal figures of speech) and Atthālaṅkāra (semantic figures of speech). There are two types of Saddālaṅkāra, i.e., Anuprasa and Yamaka. The specification of Anuprasa can be further subdivided into three types: Chekānuprāsa, Lāṭānuprāsa and Vṛttayanuprāsa. As for Atthālaṅkāra, there are twelve types: Atisayavutti, Upamā, Rūpaka, āvutti, Akkhepa, Atthantranyāsa, Parikappanā, Samāhita, Pariyāyavutti, Mahantatta, Sabhāvavutti and āsī. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตและแปลวรรณกรรมบาลีเรื่อง “มหาโพธิวํส” เป็นอักษรไทยและภาษาไทยจากฉบับตรวจชำระและปริวรรตถ่ายถอดเป็นอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์ (Pāli Text Society) ซึ่งตรวจชำระโดย Arthur Strong ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี 1891 แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์ในสารัตถะและลักษณะวรรณศิลป์
ผลการศึกษาสารัตถะพบว่า วรรณกรรมบาลีเรื่องนี้ประกอบไปด้วยสารัตถะ 6 ด้าน คือ (1) สารัตถะทางด้านความเชื่อ ได้แก่ ความเชื่อดั้งเดิม ความเชื่อในศาสนาพุทธ และความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (2) สารัตถะทางด้านประวัติศาสตร์ ได้แก่ ประวัติบุคคลสำคัญ ประวัติการสังคายนาพระธรรมวินัยในอินเดีย และประวัติต้นพระศรีมหาโพธิ์ลังกา (3) สารัตถะทางด้านภูมิศาสตร์ ได้แก่ สถานที่สำคัญต่างๆ ในลังกา (4) สารัตถะทางด้านสังคม ได้แก่ ชนชั้นทางสังคม อาชีพ และหญิงม่าย และวัฒนธรรม ได้แก่ การต้อนรับพระมหินทเถระ การร่ายรำของนางสนม และเครื่องดนตรี (5) สารัตถะทางด้านค่านิยม ได้แก่ ความงามของสตรี และการบูชาด้วยราชสมบัติ และสุดท้าย (6) สารัตถะทางด้านคติธรรมคำสอน ได้แก่ หลักคติธรรมคำสอนที่พุทธศาสนิกชนเข้าใจได้โดยง่าย เช่น หลักไตรลักษณ์ การรักษาศีล เป็นต้น
ส่วนผลการศึกษาลักษณะวรรณศิลป์พบว่า วรรณกรรมบาลีเรื่องนี้ประกอบไปด้วยลักษณะวรรณศิลป์ 4 ด้าน คือ (1) ลักษณะคำประพันธ์ ได้แก่ เป็นวรรณกรรมบาลีประเภทร้อยแก้วผสมร้อยกรองหรือที่เรียกว่าวิมิสสะ (2) ลักษณะความคิดสร้างสรรค์ในเนื้อหา ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ในเนื้อหาพุทธประวัติ (3) ลักษณะภาษาบาลี ได้แก่ ลักษณะพิเศษของภาษาบาลีที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้ประพันธ์กล่าวคือ สนธิ สมาส การแต่งประโยคยาว การใช้ประโยคลักขณะ การใช้วิภัตตินาม “ภิ” การใช้คำไวพจน์แทนความหมายพระพุทธเจ้า การบัญญัติศัพท์ใหม่ และการยืมคำในภาษาสันสกฤต และสุดท้าย (4) อลังการในมหาโพธิวังสะ ได้แก่ อลังการทั้ง 2 ประเภท คือ สัททาลังการ (อลังการทางเสียง) และอัตถาลังการ (อลังการทางความหมาย) สำหรับสัททาลังการมี 2 ประเภท คือ อนุปราสะและยมก เฉพาะอนุปราสะแบ่งย่อยได้อีก 3 ประเภท คือ เฉกานุปราสะ ลาฏานุปราสะ และวฤตตยนุปราสะ ส่วนอัตถาลังการมีอลังการ 12 ประเภท คือ อติสยวุตติ อุปมา รูปกะ อาวุตติ อักเขปะ อัตถันตรันยาสะ ปริกัปปนา สมาหิตะ ปริยายวุตติ มหันตัตตะ สภาววุตติ และอาสี
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
จารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
43