เทวดานพเคราะห์-พระพุทธรูปประจำวัน : ภาพสะท้อนคติความเชื่อ พิธีกรรมในสังคมไทย
ชื่อเรื่องอื่น:
Navagraha and Buddha images in association with day : reflections of belief and ritual in Thai society
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2014
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการคติความเชื่อ ในการบูชาเทวดานพเคราะห์-พระพุทธรูปประจำวันสมัยรัตนโกสินทร์ โดยศึกษาผ่านการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์รูปเคารพในการประกอบพิธีกรรม เท่าที่พบหลักฐานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งในที่นี้มุ่งเน้นเฉพาะที่จัดขึ้นเนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วยโบราณวัตถุที่เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร หลักฐานเอกสารโบราณ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้เป็นชุดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบคติความเชื่อและรูปแบบพิธีกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
จากการศึกษาโบราณวัตถุ จำนวน 3 ชุด สันนิษฐานว่า กลุ่มประติมากรรมที่เป็นตัวอย่างการศึกษา น่าจะเคยใช้ในพิธีบูชาเทวดานพเคราะห์ที่กำหนดจัดขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษามาก่อน ซึ่งพบว่า เป็นพิธีกรรมที่เนื่องด้วยคติความเชื่อโหราศาสตร์ไทย ทั้งนี้พบว่า รูปแบบประติมากรรมเทวดานพเคราะห์ที่ศึกษามีรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมและประติมานวิทยา เป็นแบบสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งต่างไปจากสมัยอยุธยา คือ มีลักษณะเป็นรูปบุคคลที่ปรากฎพร้อมสัตว์พาหนะและอาวุธประจำพระองค์
การกำหนดกลุ่มพระพุทธรูปสำหรับใช้บูชาพระเคราะห์ที่สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญประการหนึ่ง ที่นำไปสู่คติบูชาพระพุทธรูปประจำวันในปัจจุบัน โดยพบว่า กลุ่มพระพุทธรูปที่เกิดขึ้นใหม่ ได้ปรากฎร่วมกับรูปเทวดานพเคราะห์ในพิธีบูชาเทวดานพเคราะห์ เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา นอกจากนี้ แบบปางที่กำหนดยังได้นำไปใช้สร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่เกิดขึ้นในราชสำนัก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา อันแสดงถึงจุดเริ่มต้นของการสร้างพระพุทธรูปประจำวันโดยแท้จริง
จุดเปลี่ยนสำคัญอีกประการคือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบรายละเอียดพิธีบูชาเทวดานพเคราะห์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ได้เพิ่มการเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ อันเป็นที่มาของการพิธีสวดมนต์สะเดาะพระเคราะห์หรือสวดนพเคราะห์ ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาจนถึงสมัยรัชกาลปัจจุบัน สันนิษฐานว่า คติความเชื่อในการจัดพิธีบูชาเทวดานพเคราะห์รวมทั้งการสะเดาะเคราะห์ผ่านพระพุทธรูปประจำวันที่แพร่หลายในระดับราษฎร์ปัจจุบัน เป็นประเพณีนิยมที่หยิบยืมมาจากราชสำนัก ภายหลังการปรับเปลี่ยนพระราชพิธีในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมวัฒนธรรมอีกหลายประการ โดยพบว่า ปัจจุบันคติความเชื่อในระดับราษฎร์ได้คลี่คลายไปโดยลำดับ ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่ไม่ยึดติดตามกรอบขนบธรรมเนียมพิธีกรรมตามตำราโหราศาสตร์ และมีแนวโน้มว่าอาจเกี่ยวเนื่องกับพุทธพาณิชย์มากขึ้นด้วย This thesis is aimed to study the development of belief in Navagraha and Buddha images in association with day, which has been popular in the Rattanakosin period. The study is carried out through analyzing the related sacred images used in the rituals of the past and the present days. The evidences which the researcher used include ancient articles housed in the Pra Nakhon National Museum, ancient accounts and related documents. The result of analyzing these evidence was then compared with the related beliefs and rituals of the present days.
Studying three sets of ancient images, the researcher found that those images should have been used in the rituals of Navagraha which were held for the kings’birthdays. This kind of ritual was related with the Thai traditional astrology. It is discovered that those figures bear Rattanakosin-period iconographic features which are different from those of the Ayutthaya period: they are portrayed as human figures riding a vehicle and holding a weapon.
The researcher also found that the Buddha images used in the rituals can be dated to the reign of King Rama III. The changed tradition should be related with the belief in Buddha images associating with day in the present days. Moreover, the gestures used in this group of Buddha images were later applied to the Buddha images representing each royal member’s birthday. The latter have been casted since the reign of King Rama IV onwards. This the very beginning of casting Buddha image in association with day.
In the reign of King Rama V, the ceremony of chanting holy navaggahayusamadhamma stanzas was, for the first time, introduced to the ritual. This is the origin of the chanting ceremony to exorcise bad lucks in the kings’ birthday ceremonies which is still practiced nowadays. It is also presumed that commoners’ ritual of praying to Navagraha and exorcising bad lucks through Buddha images in association with days should have been derived from this ritual which was changed in the reign of King Rama V. As for the rituals practiced by commoners, it is found that they were continually changed and thus different from the royal rituals: they are not restricted to astrological scriptures and are more and more commercial.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
2605