Cultural Identity design for Sustainable Tourism Of Tha pear District, Nakhon Si Thammarat province.
การออกแบบอัตลักษณ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Author:
Advisor:
Date:
17/8/2018
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The objectives of this research were 1) to study the background of local cultural identity in Thapae community, Nakhon Si Thammarat, 2) to study the context of local people in Thapae community to analyze the surrounding area and 3) to develop design guidelines to promote cultural tourism in Tha Phae community, Nakhon Si Thammarat.
The methodology of this study began from exploring related documents, articles, concepts and research, including actual site observation to collect data on the background and physical characteristics of current living conditions. Questionnaire and interview were used as research tools. The sample consisted of local people and tourists visiting Thapae community. Data collected were then analyzed by statistical methods, summarized, and used as the guidelines to design creative cultural identity work that promotes tourism in Thapae community, Nakhon Si Thammarat.
The results showed that designing identity to promote cultural tourism in Thapae community, Nakhon Si Thammarat was conducted under the following strategies: 1) image change strategy was used to expand cultural awareness in Thapae community, Nakhon Si Thammarat. Identity design was implemented from understanding about promoting cultural tourism from historic sites. This included the design of signage and tourism PR media. 2)Spatial distribution and creative activity strategy was implemented during peak season that was linked to major local tourist attractions. 3) Strategy for sustainable tourism development and seasonal tourism was used.
The results of this study showed that cultural tourism identity of Thapae community in Nakhon Si Thammarat in terms of lifestyle, architecture, beliefs and religions symbolized the origin and background of Thapae community that creates the pride to local people. Besides, the identity could promote cultural tourism, generating income to local people. This also encouraged local people to participate in resources management and the utilization for benefits in various forms through tourism. This led to employment, tour operator, transportation, and accommodation services, souvenir shop, strengthening social, economic, and environmental aspects towards the development into a famous tourist destination. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ภายในชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาบริบทของคนในชุมชนท่าแพ และ 3) พัฒนาแนวทางการออกแบบ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร บทความ แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการลงพื้นที่จริงเพื่อนำข้อมูลที่ค้นคว้ามา รวบรวมถึงประวัติความเป็นมาและลักษณะทางกายภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังใช้เครื่องมือในการทำระเบียบวิจัยจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ร่วมกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งจะแบ่งออกเป็นคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว เพื่อให้ได้นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ สรุปผล และพัฒนาแนวทางการออกแบบผลงานการสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลการออกแบบอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้กลยุทธ์ต่างๆ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การปรับภาพลักษณ์ ขยายการรับรู้เชิงคุณค่าทางวัฒนธรรม จากรากฐานความเข้าใจการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจากสถานที่สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ การออกแบบป้ายบอกทาง และการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว 2) กลยุทธ์กระจายพื้นที่และจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในชุมชน และ 3) กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน
ผลการวิจัยพบว่าอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สถาปัตยกรรม ความเชื่อ และศาสนา ล้วนเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ถึงความเป็นมาที่สำคัญของรากเหง้า สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในชุมชนท่าแพ นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมก่อให้เกิดรายได้ สร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชนให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรของตนให้ได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการจ้างงาน การบริการนำเที่ยว การให้บริการขนส่ง การให้บริการที่พัก การขายสินค้าที่ระลึก สร้างความแข็งแกร่งทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ที่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักแก่กลุ่มนักท่องเที่ยว
Type:
Discipline:
ศิลปะการออกแบบ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
121