Factors Affecting Achievement Motivation Working Behavior of Academic Supporting Personnel at Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
Author:
Date:
12/7/2019
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The Objectives of this research were 1) to study the level of factors affecting achievement motivation working behavior and achievement motivation working behavior of academic supporting personnel at Kasetsart University, KamphaengSaen Campus 2) to compare achievement motivation working behavior of academic supporting personnel at Kasetsart University, KamphaengSaen Campus with different personal characteristics 3) to study the factors that affect the achievement motivation working behavior of academic supporting personnel at Kasetsart University, KamphaengSaen Campus. The research was a quantitative research using the questionnaires as a research instrument. The number of the population was 1,294 staff from six faculties and three offices. The data were collected form the sample of 303 academic supporting personnel at Kasetsart University, KamphaengSaen Campus. Statistics used in this study for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test, One-way ANOVA and multiple regression analysis.
The research findings were 1) the overall factors affecting achievement motivation working behavior of academic supporting personnel at Kasetsart University, KamphaengSaen Campus was at the high level. The overall achievement motivation working behavior of academic supporting personnel at Kasetsart University, KamphaengSaen Campus was also at the high level. 2) the hypothesis testing results revealed that the academic supporting personnel at Kasetsart University, KamphaengSaen Campus with different genders, ages, education levels, marital status, income per month, work experiences, work positions and types of personnel, with achievement motivation working behavior was not different. 3) There were significant 6 factors affecting achievement motivation working behavior of academic supporting personnel at Kasetsart University, KamphaengSaen Campus at .05 level. These factors affecting achievement motivation working behavior from the most to the least were job characteristic, responsibility, work-life balance, relationship with chief, relationship with colleagues and recognition, respectively. These factors could predict achievement motivation working behavior of academic supporting personnel at Kasetsart University, KamphaengSaen Campus for 43.90 percent. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบ มุ่งผลสัมฤทธิ์และระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ประชากร คือ บุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ ในสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มี 6 คณะ 3 สำนัก จำนวน 1,249 คน กลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 303 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์และระดับพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงานที่ปฏิบัติ และประเภทของบุคลากรที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประกอบด้วย ปัจจัยจูงใจ และความสมดุลในชีวิต งาน และครอบครัว ส่วนปัจจัยที่ส่งผลอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ปัจจัยสุขอนามัย และ วัฒนธรรมองค์การ โดยตัวแปรอิสระสามารถทำนายพฤติกรรมการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ร้อยละ 43.90
Type:
Discipline:
พัฒนศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
61