การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เศรษฐศาสตร์มหภาค ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อเรื่องอื่น:
THE DEVELOPMENT OF CRITICAL THINKING SKILLS ON MICROECONOMICS USING RESEARCH-BASED LEARNING OF MATTHAYOMSUKSA 5 STUDENTS
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2560-05-22
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศรษฐศาสตร์มหภาค ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานคร จำนวน 40 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์มหภาค และ4)แบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( xˉ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วย การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศรษฐศาสตร์มหภาค ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานโดยภาพรวมด้านกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้นักเรียนร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างดีอันเกิดจากการตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับนักเรียนสามารถนำกระบวนการวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งนำไปบูรณาการกับรายวิชาต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้
The purposes of this research were to 1) compare the critical thinking skills of Matthayomsuksa 5 students before and after they studied research-based learning 2) compare the learning achievement on Microeconomics of Matthayomsuksa 5 students before and after they studied research-based learning and 3) study opinions of Matthayomsuksa 5 students towards research-based learning. The sample used in this research was 40 Matthayomsuksa 5/6 students of second semester in 2016 at Saint Gabriel’s college, Bangkok.
The instruments used in the study were 1) lesson plans 2) a critical thinking skills test 3) an achievement test on Microeconomics and 4) a questionnaire for opinions of students towards research-based learning. The data were analyzed by using mean ( xˉ ) , standard deviation (S.D.) t-test for dependent and content analysis.
The research results revealed that:
1. The critical thinking skills of Matthayomsuksa 5 students after the use of research-based learning were higher than before the use of research-based learning with statistical significance at the level of .05.
2. The learning achievement on Microeconomics of Matthayomsuksa 5 students after the use of research-based learning was higher than before the use of research-based learning with statistical significance at the level of .05.
3. Opinions of Matthayomsuksa 5 students towards research-based learning were concluded as follows: (1) learning activity: the students could seek for knowledge by themselves from quality learning resources (2) learning environment: the students actively participated in learning activities, which leads them to realize the importance of benefits from learning process and (3) advantages gained: the students could apply the research process to explore more bodies of knowledge in their everyday lives as well as to effectively integrate them to other subjects.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
การสอนสังคมศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
302