ซุ้มสีมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
Other Title:
The pavillions of buddhist boundary marker in the early Rattankosin period
Author:
Subject:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ที่จะศึกษารูปแบบซุ้มสีมาและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 1-4 รวมทั้งความนิยมในการสร้างซุ้มสีมาที่ลดลง โดยเน้นกลุ่มวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เท่านั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลในการวิจัยที่ชัดเจนมากขึ้น
จากการศึกษาวิจัย พบว่า
1. ซุ้มสีมาในสมัยรัตนโกสินทร์ มีรูปแบบที่หลากหลายทั้งที่ได้รับการสืบเนื่องมาจากอยุธยา เช่น ซุ้มสีมายอดเจดีย์ และซุ้มสีมาทรงกูบ รวมทั้งรูปแบบที่มีเพิ่มขึ้นใหม่ เช่น ซุ้มสีมาทรงมณฑปหรือทรงบุษบก และซุ้มสีมาทรงเกี้ยว ซึ่งมีแบบย่างศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 เป็นรูปแบบที่สำคัญอันแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของศิลปกรรมไทยในขณะนั้น และมีความนิยมในการสร้างกันอย่างแพร่หลายอีกด้วย
2. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของซุ้มสีมาในแต่ละช่วงรัชกาล ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนไปของบริบททางสังคมขณะนั้น และรสนิยมส่วนตัวของผู้สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ เช่น กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ นิยมแบบศิลปะจีน ทำให้รูปแบบศิลปกรรมที่มีในวัดที่พระองค์สร้างและบูรณะ มีศิลปะจีนเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย หรือที่เรียกว่า ศิลปะแบบพระราชนิยม ดังมีตัวอย่างให้เห็นที่วัดราชโอรสฯ เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว ศิลปกรรมแบบดังกล่าวจึงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางขึ้น เป็นต้น
3. ความนิยมในการสร้างซุ้มสีมาที่ลดลงนี้ มีผลจากแนวความคิดทางศาสนาเกี่ยวกับการผูกพทธสีมา ที่หันกลับไปปฏิบัติตามอย่างพุทธวัจนะเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่เจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวช เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ (รัชกาลที่ 4) การสร้างซุ้มสีมาจึงถูกลดความสำคัญลง ดังปรากฏหลักฐานภายในวัดที่พระองค์ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เพียง 2 วัด คือ วัดโสมนัสวิหาร และวัดเฉลิมพระเกียรติ This research is aimed to study the styles of pavilions housing boundary markers from the reign of King Rama I to that of King Rama IV and also to ascertain for the reason resulting in the decline of building a pavilion for those stones.
The results of the research can be summarized as follows :
1. The pavilions for boundary markers in the Rattanakosin period can be categorized into 2 groups. The first one shows the development from the Ayutthaya period ; they are for example those topped either with a chedi. The second shows the innovation of that era such as the pavilion with a Mondop top. These two groups reflect the development and the trend of the Thai art at that time.
2. The change of pavilions’ styles depended on the social factors and the preference of the sponsor. For example, because Prince Chedsadabodin preferred the Chinese art, the temple either built or renovated according to his orders bear the Chinese art influence. The best example is Wat Ratchaorasaram. When this prince accessed the throne, the Chinese influence was more famous among Thai people.
3. The trend of building a pavilion of boundary markers declined due to the movement in Buddhism. Prince Mongkut, since he was ordained, insisted that Buddhists were supposed to follow the words of the Buddha. When he was crowned, the trend of building a tabernacle for boundary markers faded out. There are only two temples of this reign that still contain them, Wat Somanaswihan and Wat Chalermphrakiet. It should be noted here that this decline corresponded with realism which was famous in Siam in the reign of King Rama IV.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
322