Show simple item record

dc.contributor.advisorวัฒนพันธุ์ ครุฑะเสนen_US
dc.contributor.authorกฤษฏิ์ ตุลวรรธนะen_US
dc.date.accessioned2020-04-14T08:04:44Z
dc.date.available2020-04-14T08:04:44Z
dc.date.issued2016
dc.identifier.urihttps://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/14813
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันทางกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจในสวนสาธารณะ ลุมพินี 2) ศึกษาความต้องการพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนเจนเนอเรชั่นวายในสวนสวนสาธารณะ ลุมพินี และ 3) เสนอผลงานออกแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนเจนเนอเรชั่นวายในสวนสวนสาธารณะ ลุมพินี วิธีการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษา ค้นคว้าจากเอกสาร บทความ แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสวนสาธารณะมาวิเคราะห์และลงสำรวจพื้นที่จริง เพื่อให้ทราบสภาพปัจจุบันทางกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจของสวนลุมพินี ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นคนเจนเนอเรชั่นวายที่เข้ามาใช้พื้นที่ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ สรุปผลและนำผลที่ได้จากการศึกษา มาเป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ ทั้งพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางสื่อออนไลน์ และพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางกายภาพ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันทางด้านกายภาพของสวนลุมพินี ลักษณะการเข้าถึงพื้นที่มีความสะดวกสบาย สามารถใช้ได้หลากหลายเส้นทาง ด้วยการเดินเท้า โดยสารรถประจำทาง รถรับจ้าง รถไฟลอยฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT รวมทั้งรถยนต์และจักรยานยนตร์ส่วนตัว ลักษณะโดยรอบของพื้นที่จะเรียกชื่อเป็นย่านต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์สูงอยู่ติดกับถนนสายหลัก มีอาคารที่พักแทรกอยู่ด้านใน มีการแบ่งพื้นที่เป็น 5 ส่วน คือ เขตบริการและเขตนันทนาการแบบใช้พละกำลัง, เขตนันทนาการแบบสงบเงียบและแบบใช้พละกำลัง, เขตนันทนาการแบบสงบเงียบฝั่งตะวันออก, เขตนันทนาการแบบใช้พละกำลัง และเขตนันทนาการแบบสงบเงียบ ฝั่งตะวันตก ในด้านสังคม การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเกิดขึ้นตามความประสงค์ของผู้เข้ามาใช้ กลุ่มผู้มีรายได้สูงใช้พื้นที่เพื่อออกกำลังกาย พูดคุย พบปะสังสรรค์ กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางใช้พื้นที่เพื่อออกกำลังกาย พักผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน กลุ่มผู้มีรายได้น้อยใช้พื้นที่เพื่อออกกำลังกาย พักผ่อน และประกอบอาชีพทำงานในสวนลุมพินี สำหรับลักษณะทางเศรษฐกิจ มีทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงจะเป็นการค้าขายภายในบริเวณศูนย์อาหารลุมพินี กับซุ้มขายอาหารและเครื่องดื่ม ในรูปแบบการบริการประชาชนเพื่อบริโภคภายในพื้นที่ ส่วนทางอ้อม มีการบริการให้เช่าพื้นที่ในการทำกิจกรรมในโอกาสต่างๆ เช่น การจัดงานแสดง การจัดงานในเทศกาลต่างๆ สำหรับความต้องการพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางสื่อออนไลน์ ส่วนใหญ่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่มีในสวนลุมพินีมากที่สุด ต้องการอ่านเนื้อหาในสื่อออนไลน์ ที่มีทั้งรูปภาพจากสถานที่จริงและบทความที่ให้สาระมากที่สุด และต้องการใช้พื้นที่ในลักษณะเป็นพื้นที่กึ่งพักผ่อนกึ่งทำงานมากที่สุด ผลงานการออกแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางสื่อออนไลน์ (Application) มี 2 ส่วน คือ การออกแบบตราสัญลักษณ์ และการออกแบบหน้าจอแสดงผล ในการออกแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางกายภาพ (Co-Creation Space) ได้ออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อน และสามารถนั่งทำงาน คิดงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ท่ามกลางบรรยากาศใกล้ชิดกับธรรมชาติ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ปลั๊กไฟ, WiFi ตู้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ การออกแบบใช้รูปแบบกึ่งถาวร โดยใช้วัสดุที่เหมาะกับยุคสมัยและคนเจนเนเรชั่นวาย ที่ต้องการความสะดวกและเรียบง่าย มีความกลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบ จากการประเมินผลงานการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ สามารถยืนยันสมมุติฐานได้ว่าการออกแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ในสวนสาธารณะ กรณีศึกษาสวนสาธารณะ ลุมพินี จะสามารถตอบสนองความต้องการของคนเจนเนอเรชั่นวายที่เข้ามาใช้พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectสวนสาธารณะen_US
dc.subjectการเรียนรู้ร่วมกันen_US
dc.subjectอาคาร -- การออกแบบen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ -- วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleการออกแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนเจนเนอเรชั่นวายในสวนสาธารณะ กรณีศึกษา สวนสาธารณะ ลุมพินีen_US
dc.title.alternativeThe design of knowledge sharing space for generation Y in public park : a case study of Lumpini parken_US
dc.typeThesisen_US
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.degree.nameศิลปมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปะการออกแบบen_US
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
.custom.total_download1182
.Theses (Master's degree) - Design Arts / วิทยานิพนธ์ – ศิลปะการออกแบบ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record


Copyright  ©  2025 Silpakorn University Central Library All Rights Reserved.
Theme by 
Atmire NV