รูปเคารพในพุทธศาสนามหายานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบที่เมืองสทิงพระ
Other Title:
Images in Mahayana Buddhism prior to the fourteenth century A.D. discovered in Sathing Phra District, Songkhla Province
Author:
Subject:
Date:
1990
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษารูปเคารพในพุทธศาสนามหายาน โดยเฉพาะที่พบที่เมืองสทิงพระและแหล่งบริเวณใกล้เคียงที่พบหลักฐาน ว่าเคยเป็นชุมชนโบราณบนคาบสมุทรสทิงพระมาก่อน โดยศึกษาจำแนกกลุ่มรูปแบบการศึกษาเปรียบเทียบ ลักษณะอิทธิพลศิลปะที่ปรากฏ และข้อสันนิษฐานในการกำหนดอายุสมัยของรูปเคารพเนื่องในพุทธศาสนามหายาน ซึ่งสัมพันธ์กับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีอื่น ๆ
จากการศึกษาปรากฏว่าสามารถพบรูปเคารพและจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพระโพธิสัตว์ กลุ่มเทพในพุทธศาสนา และกลุ่มพระพิมพ์จากการวิเคราะห์สามารถกำหนดอายุรูปเคารพออกได้เป็น 2 ยุค คือ ยุคแรก ได้แก่ รูปเคารพที่ได้รับอิทธิพลศิลปะซึ่งแพร่มาจากภาคใต้ของอินเดียและชวาภาคกลางอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ส่วนยุคที่ 2 ได้แก่รูปเคาระที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากชวาภาคตะวันออกและอิทธิพลศิลปะขอมอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-18
รูปเคารพที่พบในสทิงพระทั้ง 2 ยุคนี้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับศิลปะแบบศรีวิชัยในภาคใต้ตอนเหนือของประเทศไทย และรูปแบบของศิลปะชวาภาคกลาง ส่วนรูปแบบของพระพิมพ์ที่พบจะมีความสัมพันธ์กับศิลปะแบบขอม (ลพบุรี) ตามคติการสร้างเพื่อเป็นการสืบพุทธศาสนามากกว่า ซึ่งต่างกันกับคติการสร้างพระพิมพ์ดินดิบที่พบตามแหล่งชุมชนโบราณทั่วไปจากคาบสมุทรไทยภาคใต้ This thesis is the study of images in Mahyana Buddhism, especially, the images discovered in Sathing Phra and nearby places where there is evidence that they used to be ancient communists on Sathing Phra Peniasula.
From the study, we can classify images into 3 groups : Bodhisattva’s image, gods in Buddhism and votive tablets. From the analysis, these images can be dated from 2 periods. The first period, the images influenced by the art style from southern India and eastern Java which were around the 8th – 10th century A.D. The second period is the images influenced by the art style from middle Java and Khmert art dated around the 11th – 13th century A.D. The style of these 2 period as in the images founded in Sathing Phra were related to those of Sriwichai in the upper part of the South, the southern part of northern Thailand and Central Java. The styles of these images were related to those of Khom (Lopburi) which were made to renew Buddhism. The making is thus different from the making of the clay Buddhist votive tablets found in ancient communities in the southern Thai Peninsuls.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533 Thesis (M.A. (History of art))--Silpakorn University, 1990)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
Collections:
Total Download:
357