แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่ : กรณีศึกษาบริเวณองค์การสะพานปลากรุงเทพมหานคร
Other Title:
Public and private participation in land development : a case study of fish market organization area, Bangkok
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาภายในกรุงเทพมหานครที่มีศักยภาพ เฉพาะคือพื้นที่ขนาดใหญ่ พื้นที่ริมน้ำเปิดโล่ง ใกล้แหล่งธุรกิจการค้าการลงทุน มีสาธารณูปโภค และ สาธารณูปการรองรับ โดยนำแนวคิดการพัฒนาเมือง โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และ เจ้าของที่ดินมาเป็นกรอบแนวคิดในการทำวิจัยครั้งนี้
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ (Delphi) กลุ่มตัวอย่างเลือกด้วยแบบเฉพาะเจาะจง มีจำนวน 6 คนแบ่ง 3 ประเภทเท่า ๆ กัน ได้แก่ (1) นักวิชาการ
ทางด้านผังเมือง (2) นักวิชาการทางด้านออกแบบการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ (3) จากสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตรีย์ การเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 11 ก.พ.54 ถึง วันที่ 8 มี.ค.54 การ วิเคราะห์ข้อมูลคือเทคนิคแบบ Delphi Technique เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล2 รอบ รอบแรกเพื่อให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นและสรุปความคิดเห็นของแต่ละท่าน รอบสองนำความคิดเห็นมาสรุปหาแนวโน้มของคำตอบงานวิจัยนำกลับไปถามซ้ำเพื่อให้ยืนยันความคิดเห็นนั้นนำมาเป็นผลลัพธ์ของงานวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า โครงการที่ประกอบด้วยกิจการใช้สอยที่นำไปสู่การคืนทุนให้แก่ผู้ร่วมลงทุน และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมของกรุงเทพมหานคร แม้ว่าประเภทกิจการใช้สอยนั้นมีผลทำให้การคืนทุนล่าช้าไปก็ตาม เพื่อให้เกิดโครงการที่เป็นประโยชน์ของกรุงเทพมหานครอย่างกว้างขวาง ภาครัฐควรเข้าไปสนับสนุนให้ภาคเอกชนและเจ้าของที่ดินร่วมมือกันลงทุนธุรกิจ โครงการก่อสร้างอาคาร ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า ศูนย์บริการการท่องเที่ยวทางน้ำ ท่าเทียบเรือ พื้นที่ทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่โล่ง ลานสีเขียว ลานกิจกรรมชายน้ำ การผลักดันสนับสนุนของภาครัฐ ดังนี้ (1) จัดทำเป็นนโยบายแห่งรัฐวางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ(2) ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ เจ้าของที่ดิน (3) จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อชี้นำการพัฒนา (4) นำมาตรการลดหย่อนภาษีฯ โครงการพัฒนา กรุงเทพมหานคร มอบหมายให้บริษัทกรุงเทพธนาคม ดำเนินโครงการ จึงจะทำให้การพัฒนาบริเวณองค์การสะพานปลากรุงเทพมหานคร ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ The objective of this research was to study alternative urban development strategies for the land development of prime waterfront areas in Bangkok. There are many waterfront areas that have high potential for redevelopment. These are large extended area with busy commercial activities and excellent Infrastructure systems. The research adapted the public-private partnership in urban development as the framework in analyzing strategies for the Fish Marketing Organization area of Bangkok. The Fish Marketing Organization and its surrounding community occupy the land and buildings that belongs to the Crown Property Bureau.
A group of six experts were interviewed twice for their expert opinions to be analyzed using Delphi technique. Six of the experts include 2 urban planning academic, 2 expert real estate consultants, and 2 management-level personnels from the Crown Property Bureau. The interviews were conducted during the period from 11th February to 8th March, 2011. After the first round of the interview, the experts' opinions were analyzed and summarized for the second Interview to find the consensus on the strategy for the development of the Fish Marketing Organization area. The confirmation of the consensus of the experts' opinions from the second Interview concluded the analysis.
The findings show that the development of the Fish Marketing Organization area must consider extensive benefits to co-Investors, community's economy and general public all together even if the time to the full return of investment takes longer. This is to make the development of the area to generate wide impacts to the larger Bangkok. Bangkok Metropolitan Administration (BMA) should guide investors and developers and the Crown Property Bureau (the owner of the land) to develop convention and exposition center, water-based tourism service center, docks and piers, broad walk along the riverfront, green open space, and waterfront public space.
The BMA can develop policy to 1) create a specific urban development plan as a public policy: 2) coordinate public-private partnership among public authorities, private investors, and the Crown Property Bureau; 3) improve Infrastructure systems to guide the development; 4) offer tax breaks for developments that follow the specific urban development plan. To ensure the success of the development of the Fish Marketing Organization area, the BMA must authorizes the Krungthep Thanakom Co., Ltd. to manage the development as a private venture.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
Collections:
Total Download:
2625