การพัฒนาสมรรถนะนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
ชื่อเรื่องอื่น:
DEVELOPMENT PERFORMANCE SPORTS SCIENTISTS OF UNDERGRADUATE STUDENTS, FACULTY OF SPORTS SCIENCE, KASETSART UNIVERSITY KAMPHAENG SAEN CAMPUS TO PREPARE FOR THE ASEAN COMMUNITY
ผู้แต่ง:
วันที่:
2559-01-06
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสมรรถนะนักวิทยาศาสตร์การกีฬาในการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2)ประเมินสมรรถนะนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และ 3)ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และ วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test และ F-test ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะนักวิทยาศาสตร์การกีฬาในการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนควรมีสมรรถนะ 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะ 2) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 3)ด้านความรู้ 4) ด้านทักษะทางปัญญา 5)ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 6) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ7)ด้านทักษะการปฏิบัติ
2. สมรรถนะนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงสนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 โดยเฉพาะสมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.06 รองลงมา คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 และด้านทักษะการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 โดยเพศ และเกรดเฉลี่ยของนิสิตที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยสมรรถนะนักวิทยาศาสตร์การกีฬาแตกต่างกัน
3. แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ 1)พัฒนาการใช้ภาษาต่างประเทศเป็นอันดับแรกเนื่องจากนิสิตยังขาดความพร้อม 2)การทำโครงงานวิจัย กิจกรรมเสริมทักษะต่างๆ และ3)การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
This purposes of this research were 1)study the performance sports
scientists in preparation for the ASEAN community, 2)evaluate performance sports
science of undergraduate students, Faculty of sports science, Kasetsart University
Kamphaeng Saen Campus and 3)study the development performance sports scientists
of undergraduate students, Faculty of sports science, Kasetsart University Kamphaeng
Saen Campus to prepare for the ASEAN community. Research methodology has been
conducting with mixed methods, which questionnaires and interviews were used as the
research tools.. The quantitative data analysis using statistical values percent (%)
average (mean) standard deviation (SD) t-test and F-test. The data were analyzed using
qualitative content analysis.
The results showed that:
1. the scientific expert sports performance sports scientists in preparation for
the ASEAN community seven areas: 1) the feature. 2) moral 3) Knowledge. 4)
Intellectual skills 5) the interpersonal skills and responsibility. 6) the numerical analysis
skills, communication and information technology, and 7) the practical skills.
2. The undergraduate students, Faculty of sports science have performance
sports scientists in the high level (3.54). First, the performance moral in the high level
(mean = 4.06). Second, interpersonal skills and responsibility (mean = 3.60) and the
practical skills (mean = 3.50). Gender and grade point average of the students in
different sports scientist with the average performance difference.
3. The course Director, Faculty of sports science, there are guidelines in the
development of sports science student performance. A method of improving
performance sports scientists of undergraduate students accelerating the development
such as 1) developing foreign language students due to lack of availability, 2)the
research projects activity skills and 3)updating the curriculum to meet the needs of the
labor market in the ASEAN.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
พัฒนศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
จำนวนดาวน์โหลด:
182