พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นชาวไทยยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
Other Title:
Thai - Yuan folk culture museum, Saraburi Province
Author:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ การออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเนื้อหาทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยสร้างเนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบทเดิม เพื่อแสวงหาแนวทางในการผสานคุณค่าของวัฒนธรรมเดิมกับสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน จากแนวคิดเรื่องสถาปัตยกรรมแนววัฒนธรรมนิยมที่มีแนวคิดว่าสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตทางวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนั้นสถาปัตยกรรมคงควรได้รับการสร้างสรรค์โดยดิงกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพื้นที่ซึ่งสถาปัตยกรรมนั้นตั้งอยู่ ถึงแม้ว่าหน้าที่ใช้สอยแบบยุค สมัยปัจจุบันอาจจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเดิมแต่ในกระบวนการออกแบบต้องวิเคราะห์ความหมายทางวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปแบบธรรมหรือนามธรรมและสังเคราะห์ความหมายเหล่านี้แสดงออกเป็นองค์ประกกอบส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม
กระบวนการในการออแบบเริ่มจาก 1.)กำหนดพื้นที่วัฒนธรรมและศึกษาถึงองค์ประกอบทางวัฒนธรรมต่างๆ 2.) การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่นำองค์ประกอบทางวัฒนธรรมของพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งในกะรบวนการออกแบบ รูปแบบและที่ว่างทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏเป็นผลผลิตของกระบวนการออกแบบที่บรรจุองค์ประกอบทางวัฒนธรรมและหยิบยืมภูมปัญญาในการแก้ปัญหาของชุมชนโดยประยุกต์ให้เข้ากับวิทยาการในปัจจุบัน ดังนั้นการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีรากฐานวัฒนธรรมของท้องถิ่น จะไม่ทำให้สถาปัตยกรรมใหม่กลายเป็นของแปลกและขาดความสัมพันธ์กับท้องถิ่น The purpose of this thesis was to design the present Thai Architecture that has influenced by its own context starting with the inspiration concept of Intercultural Architecture that the architecture is a kind of cultural product so it should has been created with the way of life though the function was not link to the old context. The important thing was the context meaning might has been analyzed and combine it to be the part of design process.
The result of design has shown 1.) Define the cultural area (Thai-yuan Community, Saohai, Saraburi Province) and study all the context component 2.) The architectural creation by putting the cultural context into the design process in this strong current of globalization. The world is going to be borderless even the architecture. The representation of the meaning of the cultural form and space will make the new architecture friendly to the community.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A.(Thai Architecture))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
Total Download:
621