การออกแบบพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว

Other Title:
The design of royal crematorium of King Rama 7
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาพระเมรุมาศที่ผ่านมา พบว่ามีคติสัญลักษณ์ อันเกี่ยวเนื่องกับฐานะขององค์พระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งทางพุทธและพราหมณ์ กล่าวคือฐานะการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าธรรมิกราชพระอินทราธิราช พระนารายณ์อวตาร หน่อพุทธางกรู หรือเทพอื่นๆ อันประทับอยู่ในปราสาทบนภูเขา ก่อให้เกิดรูปแบบของพระเมรุมาศซึ่งมีลักษณะเดียวกัน พระเมรุมาศสมัยอยุธยาเป็นช่วงขิงการทำพระเมรุมาศเต็มตำราแบบโบราณ พระเมรุมาศพระมหากษัตริย์เป็นพระเมรุใหญ่สร้างบนภูเขาจำลอง เดิมเป็นยอดปราสาทต่อมาทำยอดปรางค์ ภายในบรรจุพระเมรุทอง เป็นเมรุบุษกพิมาน แล้วจึงตั้งจิตกาธานข้างในพระเมรุทองอีกชั้นหนึ่งมามีการเปลี่ยแปลงในพระเมรุมาศรัชกาลที่ 5 ซึ่งตัดทอนพระเมรุปราสาท ทำเพียงพระเมรุบุษบกทอง แล้วตั้งจิตกาธานข้างใน อันเป็นรูปแบบที่สืบเนืองต่อมาในงานพระเมรุมาศรัชกาลที่ 6 และพระเมรุมาศรัชกาลที่ 8
การทดลองนำเอาเรขาคณิตมาใช้วิเคราะห์หาแผนภาพตัวแบบทางสถาปัตยกรรมของพระเมรุมาศพระบาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พบว่าสามารถสร้างแผนภาพตัวแบบได้โดยใช้ขนาดของจิตกาธานเป็นจุดเริ่มต้น ทำให้สามารถกำหนดจุดสำคัญและสัดส่วนของพระเมรุมาศแล้วนำมาเป็นโครงร่างในการก่อรูปพระเมรุมาศทั้งในทางผังบริเวณ ผังพระเมรุมาศ และการขึ้นรูปตั้ง โดยใช้การแทนคำความหมายของพระเมรุมาศบุษบก ซึ่งหมายถึง พระที่นั่งบุษบกในพระบรมมหาราชวัง นำเอาจินตภาพ (image)ของพระที่นั่งบุษบกมาลามาใช้เป็นจุดเริ่มต้นแนวความคิดเพื่อสร้างรูปอาคาร และใช้การสื่อสัญลักษณ์เป็นการประดับตกแต่งโดยตัวพระเมรุมาศแสดงเป็นพระที่นั่งแห่งองค์พระบาทามเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยสัญลักษณ์แทนพระองค์ในหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับอาคารหลังอื่นๆ ที่ใช้หน้าบันเป็นที่แสดงสัญลักษณ์ โดยคำนึงถึงระเบียบและความงามทางสถาปัตยกรรมไทย
การใช้วิธรการออกแบบพระเมรุมาศด้วยระบบวิธีเรขาคณิตเช่นนี้ เป็นวิธีการที่ผู้ศึกษาเลือกนำมาใช้เพื่อทดลองออกแบบพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น มิใช่วิธีการศึกษาที่ช่างไทยถือปฏิบัติกัน แต่กระนั้นก็ทำให้ทราบถึงระบบสัดส่วนของพระเมรุมาศรัชกาลที่ 6 ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นโครงร่างในการออกแบบพระเมรุมาศได้ อย่างไรก็ตามแผนภาพตัวแบบที่เกิดขึ้นนี้ ก็อาจเป็นข้อจำกัดของการสร้างสรรค์งานออกแบบพระเมรุมาศได้เช่นเดียวกัน From review study of the Royal Crematorium (Phra Merumas) found the Kingship ideology involved in both Hinduism and Buddhism The concept of Kingship including Cakravartin (The Great Emperor), Dhamaraja (Dhamiklaraj), Indraaja (Indra Incamation), Narai Avatana (Vishnu Incamation) Nor Buddhangkul (Buddha Relation) and several gods mentioned the palaces of gods located on the highest mountain in heaven As per Devaraja cult, the king was incarnated from gods refer to the creation of royal crematorium form and represented as the palace of gods in heaven.
The Royal Crematorium during Ayutthaya period shown the perfect pattern as old manuscript mentioned, The Royal Crematorium was the biggest one located on the peak of replica Mountain Inside or the Royal Crematorium located Phra Meru Thong contained Jitkatan (the urn) inside Later, during the rign of King Rama 5, The main Royal Crematorium Prasat wasn’t built the royal crematorium included only Phra Menu Thong to represent Jitkalan this style maintained until present time.
This study aimed to present the geometry technique on the design of Royal Crematorium architecture of King Rama 5 This theory shown the architecture scale that created from Jitkatan size and turned to be the design of architecture outline including the site plan the pain and the elevation Besides the inspiration of architecture from the image of Busabok Throne at the Grand Palace Moreover the decoration ornaments of the Royal Crematorium architecture shown the ideologies in symbols related to King Rama 7 For surrounded buildings the symbols presented on the pediment decoration and the design based on traditional Thai architecture.
Lastly This Geometry method only the experimental architecture design on the Royal Crematorium of King Rama 7 not the method of traditional Thai architect Though this method was able to present the architecture from the scale of King Rama 6s Royal Crematorium the architecture drawing representation was quite limited on the creativity of design.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. Thesis (M.A.(Thai Architecture))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
Total Download:
185