ศูนย์แสดงสินค้าศิลปหัตถกรรมไทย
Other Title:
Thai arts and crafts center
Author:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สภาพทางการณ์ทางวัฒนธรรมในปัจจุบันอำนวยให้เกิดความต้องการด้านสถาปัตยกรรมในลักษณะใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมต่างของวัฒนธรรมร่วมสมัย ในหลายๆรูปแบบ ขณะที่ลักษณะใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆของวัฒนธรรมร่วมสมัยในหลายรูปแบบ ขณะที่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมไทยในอดีตได้จำกัดอยู่เพียงไม่กี่ประเภท การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยใหม่ๆ ในเชิงพัฒนาการจากรูปแบบในอดีตจึงมีข้อจำกัดทั้งในเงื่อนไขของเวลาและสภาพทางสังคมวัฒนธรรม วิทยานิพนธ์นี้จึงเป็นความพยายามที่จะแสวงหาแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยที่สนองประโยชน์ใช้สอยในกิจกรรมใหม่ๆ ของวัฒนธรรมไทยร่วมสมัยโดยมีเนื้อหาทางวัฒนธรรมไทยเป็นพื้นฐาน
โดยกระบวนการออกแบบได้สร้างแนวคิดจากการตีเนื้อหาทางวัฒนธรรมในงานศิลปหัตถกรรมซึ่งมีกระบวนการก่อรูปที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทย ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดเรื่อง 1. ระบบศูนย์กลางกับการกำเนิด 2.ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ มนุษย์แบบวัฒนธรรมโดยมีธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง และ 3. การใช้ที่ว่างตามแบบแผนวัฒนธรรมการอยู่อาศัยของคนไทยที่สัมพันธ์กับกระบวนสร้างรูปงานศิลปหัตถกรรม แล้วจึงแลงแนวคิดดังกล่าว เป็นแผนภาพสัญลักษณ์ของที่ว่างทางสถาปัตยกรรม โครงสร้างที่ว่างและที่ว่างที่เกิดขึ้นจึงบรรจุได้ด้วยความมอบหมายตามเนื้อหาและแนวคิดดังกล่าว ขณะเดียวกับความหมายของที่ว่างนี้ก็เป็นตัวกำหนดองค์ประกอบ รูปทรงและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมด้วย โดยมีความต้องการใช้สอยในวัฒนธรรมร่วมสมัย และบริบทของที่ตั้งเข้ามาเป็นปัจจัยร่วมนำไปสู่การสร้างรูปทางสถาปัตยกรรมในที่สุด
สถาปัตยกรรมทีเกิดขึ้นประกอบด้วยโครงสร้างที่ว่างทางสัญลักษณ์ ในลักษณะการกระจายออกไปจากศูนย์กลาง (Centrifugal) เพื่อสื่อความหมายของกระบวนการเกิดงานศิลปหัตถกรรมกับความสัมพันธ์ในวิถีชีวิตวัฒนธรรมไทยซึ่งในเชิงสัญลักษณ์ได้แสดงให้เห็นว่างานศิลปหัตถกรรมได้อาศัยต้นทางคือธรรมชาติอันเป็นศูนย์กลางแล้วคลี่คลายออกมารเป็นความหลากหลายของรูปแบบต่างๆ ได้ อย่างไร ตลอดจนความสัมพันธ์ที่มีต่อชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทย ซึ่งได้แสดงในรูปของที่ว่างและกระบวนที่ว่าง (Sequence of space) ร่วมกับการใช้สอยแบบร่วมสมัยที่สอดคล้องกับความหมายของที่ว่างเหล่านั้น This study concentrated on the contemporary Thai architecture design based on Thai culture. Since contemporary Thai culture required new functional architecture for both type and style. Because of their limited form, the traditional Thai architecture could not support the inquiry of this current time. Thus this study attempted to design the contemporary Thai architecture based on this reason.
The design process mentioned on Thai handicrafts and related to Thai ways of life, nature and culture the concept of this architecture design consisted of these following items.
1. The center as the origin.
2. The relationship of nature, culture and human. The nature located at the center.
3. Organizing space based on Thai people traditional ways of life that related to Thai handicrafts form process of creation.
As mentioned, these concept designs turned to create the
Architecture space the space contained the meanings above and also set up the architecture program including element, form and style besides, the requirement of new function on contemporary Thai culture as well as the site which together turned to form the perfect architecture.
Finally, this study have created the contemporary Thai architecture design which consisted of the symbolical theme on space construction The form of centrifugal force represented the relationship of Thai handicraft creation and Thai people ways of life, nature and culture. Since beginning, Thai handicrafts created from nature material and then later shown the several style of them on art creation Thus the ideology underlying the design of space and form of this arts and crafts center concluded the whole concept and shown the architecture form as well as the sequence of space in reality to support the contemporary Thai architecture function requirement
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. Thesis (M.A.(Thai Architecture))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
Total Download:
238