การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย บทละครเรื่องเงาะป่า สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Other Title:
The development of computer assisted instruction for teaching Thai on the topic of Ngoa Paa play for prathcmsuksa 4 students
Author:
Subject:
Date:
2015
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย บทละครเรื่องเงาะป่า สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทละครเรื่องเงาะป่าก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนนาคประสิทธิ์ จำนวน 45 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายใช้เวลาในการทดลอง 8 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทละครเรื่อง เงาะป่า 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทละครเรื่องเงาะป่าก่อนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าทดสอบสถิติ t-test dependent แบบไม่อิสระต่อกันและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทละครเรื่องเงาะป่า มีค่าเท่ากับ 81.15/82.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมากทีสุด The purposes of this research were: 1) to develop a computer assisted instruction on “Ngoa Paa” for Prathomsuksa 4 students, 2) to compare the students’ learning achievement before and after using the computer assisted instruction, and 3) to study the students’ attitude toward the CAI lessons. The samples are 45 Prathomsuksa 4 students studying in the second semester during the academic year 2015 of Nakprasith school, as the result of the simple random sampling. The research demonstrating 8 hours. The instrument used for gathering data were comprised of 1) CAI lessons on “Ngoa Paa” for Prathomsuksa 4 students, 2) An achievement test, and 3) A questionnaire on the students’ opinion toward the CAI lessons. The collected data were analyzed by mean, standard deviation and t-test dependent and content analysis.
The results revealed that:
1. The efficient of the CAI lessons on “Ngoa Paa” for Prathomsuksa 4 students was 81.15 /82.56 which met analysis the hypothetical criterion of 80/80.
2. The students’ learning achievement after using the CAI lessons was higher than before using the CAI lessons at a .01 significance level.
3. The students’ attitude toward the CAI program at the high level.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
Total Download:
336