การประเมินโครงการโรงเรียนสีขาวในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี

Other Title:
An evaluation of the white school project in secondary school Kanchaburi province
Advisor:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนสีขาว ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ และศึกษาผลการประเมินโครงการโรงเรียนสีขาว ระหว่างโรงเรียนในเขตพื้นที่เมือง โรงเรียนในเขตพื้นที่ชนบท และโรงเรียนในเขตพื้นที่ชายแดน กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนในเขตพื้นที่เมือง 2 แห่ง โรงเรียนในเขตที่ชนบท 2 แห่ง และโรงเรียนในเขตพื้นที่ชายแดน 2 แห่ง โดยการสอบถามจากคณะกรรมการโรงเรียนสีขาว แห่งละ 7 คน ประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายบริหาร ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน ตำรวจ หรือทหาร ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 42 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสอบถาม และการสังเกตกิจกรรม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) เพื่อศึกษาสถานภาพข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และวิเคราะห์การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และใช้ค่าเฉลี่ย (x ̅), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์การประเมินด้านผลลัพธ์ แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
การประเมินโครงการโรงเรียนสีขาว โดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยด้านสภาวะแวดล้อม ผ่านเกณฑ์ในระดับที่สูงที่สุด ส่วนด้านปัจจัยเบื้องคัน ผ่านเกณฑ์ในระดับต่ำที่สุด และเมื่อนำมาแยกเป็นรายด้าน และแต่ละเขตพื้นที่ มีรายละเอียดดังนี้
1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า คณะกรรมการโรงเรียนสีขาว ส่วนใหญ่ เห็นว่า วัตถุประสงค์ของโครงการโรงเรียนสีขาว มีความสอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายของกรมสามัญศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า คณะกรรมการโรงเรียนสีขาว ส่วนใหญ่ เห็นว่า งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน ไม่มีความเหมาะสมต่อการดำเนินงามตามโครงการโรงเรียนสีขาว ส่วนบุคลากรและระยะเวลาในการดำเนินงานมีความเหมาะสมต่อโครงการโรงเรียนสีขาว
3. การประเมินด้านกระบวนการ พบว่า คณะกรรมการโรงเรียนสีขาวส่วนใหญ่ เห็นว่า โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันปัญหายาเสพติด แต่ไม่ได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ส่วนความร่วมมือของคณะกรรมการโรงเรียนสีขาว พบว่า คณะกรรมการโรงเรียนสีขาว ส่วนใหญ่ ให้ความร่วมมือกับโรงเรือนในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสีขาว
4. การประเมินด้านผลลัพธ์ พบว่า คณะกรรมการโรงเรียนสีขาวส่วนใหญ่ เห็นว่า ความสำเร็จของโครงการ และความร่วมมือของชุมชนต่อความสำเร็จของโครงการ อยู่ในระดับมาก ส่วนคณะกรรมการโรงเรียนสีขาว ในเขตพื้นที่เมือง เห็นว่า ความร่วมมือของชุมชนต่อความสำเร็จของโครงการ อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องมาจากความเจริญในเขตพื้นที่เมือง ภารกิจส่วนบุคคลของผู้นำชุมชม ที่มีส่วนเกี่ยวของในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสีขาวมีมาก ทำให้ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสีขาวได้อย่างเต็มที่
5. เมื่อศึกษาผลการประเมินโครงการโรงเรียนสีขาว ระหว่างโรงเรียนในเขตพื้นที่เมือง โรงเรียนในเขตพื้นที่ชนบท และโรงเรียนในเขตพื้นที่ชายแดน พบว่า การดำเนินงานมีผลใกล้เคียงกัน The purposes of this research were to evaluate the white school project in the aspects of context, input , process and product and to compare the evaluation of white school project between schools in urban area, country area, and border area, The 42 subjects used in this study were from 2 schools in urban areas, 2 schools in country areas, and 2 schools in border areas, by inquiring 7 persons of each schools, e.g. school administrators, teachers, parents, students, police or soldier, community leaders and local wisdom personnels. Data was collected by analyzing the document, inquiring and observation activities.
The instrument used in this study was the questionnaires.
Percentage was used to analyze for studying subjects' status and general information and to analyze the evaluation in the aspects of context, input and process. Mean(x ̅) and standard deviation (S.D) were used to analyze the evaluation of the result. The presentation was in the narrative form.
The results of the study classify by each catagories and by the area school are located were as follows:
An evaluation of the white school project in general founded that the project pass the evaluation criteria. Context evaluation was the highest and the lowest was input evaluation.
1. The evaluation in the aspects of context was found that most of the white school committee realized that the objective of the white school project were consist with government policy , education ministry policy and general education department policy about the prevention and the solution of drug problems in schools.
2. The evaluation in the aspects of input was found that most of the white school committee realized that the budget and the supply used were not suitable for doing white school project, but personnel and the period of time were suitable for doing this project.
3. The evaluation in the aspects of process was found most of white school committee realized that schools had activities about preventing the drug problems in schools but did not provide activities about how to solve the problems in schools. The cooperation of the white school committee was found that most of them cooperated with schools to do activities
4. The evaluation in the aspects of the product was found that most of the white school committee realized that the success of white school project and the cooperation of community were in the high level except the community in the urban area cooperate in the moderate level because they performs many activities.
5. The study of the white school project between urban areas schools , country area schools and border area schools was found that there were similar in their performance.
Type:
Degree Name:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
41