ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการข้างเคียงจากผลิตภัณฑ์รักษาสิวในวัยรุ่น
Other Title:
FACTORS EFFECTING ADVERSE DRUG REACTION OF ACNE PREPARATION IN TEENAGER IN NAKHON PATHOM PROVINCE
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
The main objective of this study aimed at the factors affecting the adverse
reaction resulting from using acne preparations. The study group of 303
adolescence, aged thirteen to nineteen and found to use acne preparations
within the past 1 year prior to the conducting of this study, were interviewed
by questionnaire
It was found that mode of the study group were equally seventeen and
eighteen years of age at 20.9%. The study group had an average age of 16.5
years with 1.9 standard deviation. 78.2% were female. The 49.5% had the
highest education level of high school grade. 95.7% were students. 80.5%
had no allergic rhinitis profile. 89.1% had no drug allergy profile. 86.8%
had no profile on phytoallergy or allergy to sea food or insects. The two
most favourite products used by the subjects were Ponds cream and KA
cream at 11.9% equally. 9.9% used Biore foam. Most of the active
ingredients functioned as emollient and antibacterial substance e.g
Triclocarban etc. Acne preparations were categorized, according to the
labelled informations including composition of the products, into 3 groups
namely the drug products with anti-acne indications (1), cosmetic products
with anti-acne claims (2) and cosmetic with no anti-acne claims (3).
5 products were included in the first group and used by 5.6%. 24 products
were included in the second group and used by 55.5%. 19 products were
included in the third group and used by 38.6%. 70.6% bought the acne
products from the convenience stores. The common informations labelled
in all products were name and type of the product, product composition
and indication or warning statement. 91.7% of the products were found to
show the manufacture date or expiry date as well as name and address of the
manufacturer. The subjects were all well aware of the name and indications
or warning statements of the products. Only 22.0% were aware of the
FDA logo displayed on the product labels. 81.7% used the products
specifically for facial treatment. 65% had the behaviour score above the
average. 94.7% read the product labels including indications or warning
statements before use. 33.3% used the products at an appropriate dosage.
64.0% were found at least one adverse reaction. The findings of this study
indicated that education level, drug allergy profile active ingredients, labelled
informations and area of application related to the occurrence of adverse
reaction caused by the acne preparation. (P-value < 0.05) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการข้างเคียง
จากการใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวในวัยรุ่นจังหวัดนครปฐม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึก
ษามีอายุระหว่าง 13 - 19 ปี และใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
จากการสุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 303 คน เก็บรวบรวมข้อมูล
ด้วยแบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 17 ปีและ 18 ปี มีจำนวนเท่ากัน ร้อยละ 20.9
มีอายุเฉลี่ย 16.5 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.9 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 78.2 มีการศึกษาสูงสุด จบชั้นมัธยมศึกษาร้อยละ 49.5 กลุ่มตัวอย่างส่วน
ใหญ่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา ร้อยละ 95.7 ไม่เคยมีประวัติการเป็น
โรคภูมิแพ้ ร้อยละ 80.5 ไม่เคยมีประวัติการแพ้ยา ร้อยละ 89.1 และไม่เคยมี
ประวัติการแพ้อาหารทะเล แมลง หรือพืช ร้อยละ 86.8
ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่กลุ่มตัวอย่างนิยมเลือกใช้มากที่สุด มีจำนวนเท่ากัน 2
ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Ponds cream และ KA cream ร้อยละ 11.9 รองลงมา ได้แก่
Biore foam ร้อยละ 9.9 สารสำคัญในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ออกฤทธิ์เป็น
Emollient คือทำให้ผิวนุ่ม และออกฤทธิ์เป็นสารระงับเชื้อ เช่น Triclocarban
เป็นต้น จากสารสำคัญและรายละเอียดที่มีในฉลากผลิตภัณฑ์รักษาสิว
สามารถแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่กลุ่มตัวอย่างใช้ได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญเป็นยาและฉลากมีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์เพื่อรักษาสิว
มีจำนวน 5 รายการ มีกลุ่มตัวอย่างเลือกใช้ร้อยละ 5.6
ผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 2 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญเป็นเครื่องสำอางและ
ฉลากมีรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาสิว มีจำนวน 24 รายการ มีกลุ่มตัวอย่าง
เลือกใช้ร้อยละ 55.5 และผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 3 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร
สำคัญเป็นเครื่องสำอางและฉลากไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาสิว
มีจำนวน 19 รายการ มีกลุ่มตัวอย่างเลือกใช้ร้อยละ 38.6 และกลุ่มตัวอย่าง
นิยมซื้อผลิตภัณฑ์รักษาสิวจากร้านค้ามากที่สุด ร้อยละ 70.6 ในเรื่องการแสดง
ข้อความบนฉลาก
ผลิตภัณฑ์รักษาสิวใน 4 ข้อแรก ได้แก่ ชื่อผลิตภัณฑ์ ประเภทหรือชนิดของ
ผลิตภัณฑ์ ชื่อส่วนประกอบหรือสารสำคัญ และคำแนะนำหรือคำเตือนหรือ
วิธีใช้ มีการแสดงข้อความเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ร้อยละ 100.0 ส่วน
ข้อความที่ไม่แสดงตามกฎหมายกำหนด คือ วัน เดือน ปีที่ผลิตหรือหมดอายุ
และชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต พบว่ามีการแสดงเพียงร้อยละ 91.7 ในเรื่องการ
รับรู้ถูกต้องมากที่สุดในเรื่อง การแสดงชื่อผลิตภัณฑ์ และคำแนะนำหรือคำ
เตือนหรือวิธีใช้ ร้อยละ 100.0 กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ถูกต้องน้อยที่สุดในเรื่อง
การแสดงเครื่องหมาย อย. ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางร้อยละ 22.0 ในด้าน
พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิว พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้ผลิต
ภัณฑ์รักษาสิวทางเฉพาะใบหน้าร้อยละ 81.7 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับ
คะแนนพฤติกรรมเป็นระดับสูง คือ มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ย ร้อยละ 65.0
กลุ่มตัวอย่างมี
พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ถูกต้องมากที่สุดในเรื่อง การอ่านฉลาก คำแนะนำ
หรือวิธีใช้ หรือข้อบ่งใช้ก่อนที่จะใช้
ผลิตภัณฑ์ร้อยละ 94.7 และกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ถูกต้อง
น้อยที่สุดในเรื่อง การใช้ผลิตภัณฑ์ในขนาดที่เห็นว่าเหมาะสมมากกว่าขนาด
ที่กำหนดในฉลากแนะนำร้อยละ 33.3 ในด้านอัตราการเกิดอาการข้างเคียง
พบกลุ่มตัวอย่างเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวอย่างน้อย
หนึ่งอาการ ร้อยละ 64.0 ในด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการข้าง
เคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิว พบว่า ระดับการศึกษา ประวัติการแพ้ยา
สารสำคัญและรายละเอียดที่มีในฉลากผลิตภัณฑ์รักษาสิว และพฤติกรรมการ
ใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวในเรื่องบริเวณของร่างกายที่ใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวมี
ความสัมพันธ์กับการเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิว
(P-value < 0.05)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
Collections:
Total Download:
476