การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของสตรีวัยหมดประจำเดือนในคลินิกสตรีวัยทอง
Other Title:
THE COMPARISON OF HEALTH-RELATED QUALITY OF LIFE OF MENOPAUSAL WOMEN IN MENOPAUSE CLINICS
Author:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
The purpose of this study was to determine the effect of hormone
replacement therapy on quality of life in menopausal women by
comparing to non - users. A total of 135 patients, aged 40-60 years,
were recruited at Menopausal Clinic in Health Promotion Center,
Region 4, Ratchaburi and Nakornprathom Hospital. Fifty-two of
them were currently receiving hormone therapy. Quality of life
was assessed using the Menopasal - Specific Quality of life
Questionnaire, MENQOL (Thai version) and climacteric symptoms
were measured by symptom scores form. Chi - square and t - test
were used in the analysis of difference between groups. Results:
There were no statistical significant difference in any of the domains
of the MENQOL between patients who were treated and not treated
with hormone. Patients on hormone therapy had better scores on
all domains in MENQOL although there was no significant difference.
Of those who have been receiving hormone therapy, the
postmenopausal women, the women with high risk of hormone
deprivation and the women with chronic diseases had significant
better quality of life scores compared to the non users in physical
and sexual domain, psychosocial domain and sexual domain respectively.
The overall health of the two groups were not statistical significant
difference. Conclusion: Hormone replacement therapy have a positive
effect on menopausal women. Quality of life evaluation could provide
additional data to support the decision of hormone therapy. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของสตรีวัยหมดประจำเดือน
ที่ได้รับและไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน ในคลินิกสตรีวัยทอง ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต
4 จังหวัดราชบุรี และโรงพยาบาลศูนย์นครปฐม และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตสตรีทั้ง
สองกลุ่ม โดยมีปัจจัยด้านสุขภาพ แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีวัยหมดประจำ
เดือนอายุ 40 - 62 ปี จำนวน 135 ราย ได้รับฮอร์โมนทดแทน 52 ราย ไม่ได้รับฮอร์โมน
ทดแทน 83 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ประกอบ
ด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถาม the Menopause - Specific Quality
of Life questionnaire (MENQOL) ฉบับภาษาไทยและแบบประเมินตนเองภาวะ
การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพชีวิตรายด้านใช้ t - test คุณภาพ
ชีวิตโดยรวมใช้ chi - square ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่ใช้ฮอร์โมนมีคุณภาพชีวิตทุก
ด้านแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ใช้ฮอร์โมน และมีคุณภาพชีวิตโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัย
สำคัญทางสถิติ ผู้ที่ใช้ฮอร์โมนมีคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้ไม่ใช้ฮอร์โมนในด้านร่างกายและเพศ
สัมพันธ์ในกลุ่มที่อยู่ในระยะหลังหมดประจำเดือน ด้านจิตสังคมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อ
การขาดฮอร์โมนในระดับสูง และด้านเพศสัมพันธ์ในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ กลุ่มที่มีปัจจัยด้านสุขภาพแตกต่างกัน ผู้ที่ใช้และไม่ใช้ฮอร์โมนมีคุณภาพชีวิต
โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า การใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นผลดี
ต่อสตรีวัยหมดประจำเดือน การประเมินคุณภาพชีวิตสามารถใช้เป็นข้อมูลหนึ่งในการพิจารณา
สั่งใช้ฮอร์โมนทดแทนแก่สตรีวัยหมดประจำเดือนได้
Description:
วิทยานิพนธ์ (ภ.ม. (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข)) - มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
Collections:
Total Download:
775