ชุดห้องน้ำไฟเบอร์กลาสสำหรับรถยนต์โดยสารปรับอากาศมาตรฐาน 1

Author:
Subject:
Date:
1989
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ความมุ่งหมาย 1. เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอันเกิดจากการใช้โลหะในการประกอบรวมทั้งส่วนที่เป็นตัวสุขภัณฑ์
2. เป็นการนำเอาวัสดุใหม่คือไฟเบอร์กลาสมาใช้กับรถยนต์โดยสารปรับอากาศมาตรฐาน 1 เพื่อก่อให้เกิดสีสัน และรูปทรงที่แลดูงดงามกลมกลืนมากขึ้น
ปัญหาของผลิตภัณฑ์เดิม
1. วัสดุที่เป็นอุปกรณ์และสุขภัณฑ์มีน้ำหนักมาก
2. ผลจากการเกิดรอยต่อ เนื่องจากการประกอบภายในห้องน้ำทำให้น้ำซึมเข้าได้ โลหะจึงผุกร่อนง่าย
3. การซ่อมบำรุงรักษานั้นยุ่งยากและเสียเวลามาก
4. อุณหภูมิภายในห้องน้ำเวลากลางวันจะสูงมาก
5. สีสันและรูปแบบสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำทำให้มีความกลมกลืนได้ยาก
แนวทางการแก้ปัญหา
1. วิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่เกี่ยวข้องภายในห้องน้ำบนรถยนต์โดยสารปรับอากาศฯ เช่น พื้นที่ ระบบไฟฟ้า การระบายอากาศ ระบบน้ำที่ใช้ และระบบปรับอากาศ
2. ศึกษาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องน้ำบนรถโดยสารฯ ประกอบกับขนาด สัดส่วน พื้นผิว สีสัน ความแข็งแรง เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุด
3. วิเคราะห์ข้อมูลส่วนภายนอกที่ต้องเกี่ยวข้องกับการประกอบชุดของห้องน้ำ ได้แก่ โครงสร้างตัวถังรถ ตำแหน่งการติดตั้ง
4. นำการแก้ไขปัญหาทั้งหมดมารวบรวมและปรับปรุงเพื่อการออกแบบชุดห้องน้ำที่เหมาะสมที่สุด
สรุปผลของการแก้ปัญหา
1. วัสดุที่ใช้คือไฟเบอร์กลาสนั้นสามารถทำให้ไร้ซึ่งรอยต่อ ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นที่เกิดจากน้ำซึมขัง และการผุกร่อนจึงหมดไป
2. น้ำหนักของเครื่องสุขภัณฑ์ที่ใช้ไฟเบอร์กลาสนี้ จะมีน้อยกว่าโลหะที่ใช้จึงลดภาระการรับน้ำหนักของรถไปได้
3. การบำรุงรักษาทำได้สะดวกรวดเร็ว รวมถึงระบบการประกอบและการติดตั้ง เพราะสามารถทำได้ทั้งจากภายในและภายนอกตัวรถ
4. เรื่องความกลมกลืนของรูปทรงและสีสัน สามารถทำได้ง่ายขึ้น เกิดความหลากหลายในการออกแบบให้มีความสอดคล้องกลมกลืนกัน
ข้อเสนอแนะและความคิดเห็น
เมื่อมีการศึกษาการใช้วัสดุอื่น ๆ ที่สามารถทดแทนวัสดุเดิมได้ และให้คุณสมบัติที่ดีกว่าก็สมควรที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาวัสดุนั้น ๆ ให้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด ไฟเบอร์กลาสก็เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากที่ข้าพเจ้าได้นำเอาวัสดุนี้มาใช้งานแทนโลหะในเครื่องสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำรถยนต์โดยสารปรับอากาศมาตรฐาน 1 ซึ่งให้ผลเป็นที่น่าพอใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิต การติดตั้ง การบำรุงรักษาซ่อมแซม เป็นต้น อนึ่ง ในการทำงานครั้งนี้ ข้าพเจ้าค่อนข้างที่จะมีประสบการณ์ไม่มากนักเรื่องกรรมวิธีการผลิตไฟเบอร์กลาส จึงส่งผลให้รูปแบบในหลาย ๆ ส่วนต้องกระทำเพื่อหาข้อยุติตามเวลาที่กำหนดไว้ ผลงานจึงอาจไม่สมบูรณ์มากเท่าที่กับข้าพเจ้าปรารถนาไว้
อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งซึ่งช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ทั้งนี้เพื่อความสะดวกสบายของประชาชนผู้ใช้บริการ และที่สำคัญก็คือ เป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาโครงงานในขั้นต่อไป
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
Collections:
Total Download:
139