โครงการออกแบบโคมประทีปล้านนาสำหรับตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบล้านนา
Other Title:
Lanna landle for architecture
Advisor:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
โครงการออกแบบโคมประทีปล้านนา สำหรับตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบล้านนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองสร้างงานที่มีลักษณะเฉพาะตัวขึ้น โดยนำศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างรูปแบบงาน และใช้โคมประทึปเป็นสื่อในการนำเสนอถึงแนวคิดแรงบันดาลใจที่ใช้ในการออกแบบงาน และใช้สถานที่ตัวอย่างที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบล้านนาเพื่อออกแบบงานให้มีความเหมาะสมกับสถานที่ และการใช้งาน
การออกแบบงานครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ออกแบบโคมเป็น 3 ชุดด้วยกัน แต่ละชุดมี 3 ขนาด ขนาดใหญ่สูงประมาณ1.00 เมตร ขนาดกลางสูงประมาณ 0.80 เมตร ขนาดเล็กสูงประมาณ 0.60 เมตร โดยมีลักษณะของรูปทรงและการสื่อความหมายแตกต่างกัน ดังนี้
ชุดที่ 1 เป็นชุดโคมสำหรับใช้ตกแต่งสนาม รูปทรงของโคมมีลักษณะเป็นโคมสี่เหลี่ยมย่อมุม ใช้รูปทรงมาจากขันแก้วทั้งสาม และนำลวดลายฉลุจากหำยนต์มาประกอบตกแต่งเป็นช่องแสง และนำลวดลายรูปสัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ เช่น กิเลน คชสีห์ มาประกอบกับลวดลายหำยนต์ เพื่อให้เป็นโคมประทีปที่สื่อความหมายถึง การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน
ชุดที่ 2 เป็นชุดสำหรับใช้ตกแต่งส่วนระเบียง รูปทรงของโคมมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส และนำลวดลายหำยนต์ มาประกอบตกแต่งเป็นช่องแสง นำลวดลายรูป 12 นักษัตรมาประกอบกับลวดลายหำยนต์อีกครั้ง เพื่อให้สื่อความหมายถึง ความเป็นสิริมงคล ความร่มเย็นผาสุขของผู้อยู่อาศัยในเรือนนั้น ๆ เนื่องจากชาวล้านนาจะบูชาปีเกิด หรือ 12 นักษัตรอยู่เสมอ
ชุดที่ 3 เป็นชุดโคมสำหรับใช้ตกแต่งส่วนรับรอง รูปทรงของโคมมีลักษณะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม และนำลวดลายฉลุจากหำยนต์ มาประกอบตกแต่งเป็นช่องแสง และนำภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนล้านนามาประกอบตกแต่งเพื่อให้เป็นโคมประทีปล้านนาที่สื่อความหมายถึง การต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยน้ำใสใจจริง ตามแบบฉบับของวิถีชีวิตชาวล้านนา
การขึ้นรูปชิ้นงานทั้งหมดใช้เนื้อดินพื้นบ้าน คือ เนื้อดินม่อนเขาแก้ว ตำบลพิชัย จังหวัดลำปาง เป็นวัตถุดิบหลักเพื่อให้ได้สีของเนื้อดินหลังการเผาเป็นสีแดงชาด คล้ายกับสีของเครื่องเขินของชาวล้านนา ขึ้นรูปด้วยวิธีการหล่อน้ำดินแบบกลวง ตกแต่งลวดลายด้วยการฉลุเป็นช่องแสง แกะลวดลายนูนต่ำ ใช้สีบนเคลือบตกแต่งลวดลายบางส่วน ขัดผิวมันด้านนอก เผาที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส
ผลสรุปของงานครั้งนี้พบว่า โคมประทีปล้านนาที่ได้ออกแบบสามารถที่จะสื่อความหมายตามวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยได้ แต่ปัญหาในการขึ้นรูปชิ้นงานรูปทรงเหลี่ยม และมีขนาดใหญ่ทำให้การขึ้นรูปและการตกแต่ง รวมทั้งการควบคุมการแห้งตัวของชิ้นงาน การเคลื่อนย้าย การเผา อื่น ๆ ประสบปัญหาในการทำงานมาก ทำให้ชิ้นงานบางส่วนด้อยคุณภาพไป แต่ก็สามารถนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนารูปแบบ และกรรมวิธีการผลิตต่อไปในอนาคตได้ Lanna Landle for Lanna Architecture was aim to make prototype which had special character. The design was inspired from local culture in northern part of Thailand, The idea was shown in lamp style and the
sample of the place was used Lanna Architecture style that the lamp could be decorate.
This design, The researcher designed the lamp in 3 sets each set had 3 sizes, The biggest one was tall 1 m., The middle was 0.80 m. and the small one was 0.60 m. each set had different form and meaning.
The first set was for decorated in the outdoor Garden design in square shapes. The idea was form Kan Kaew Thang Sam, decorated with Ham Yon and Himaphan ornament and cut through the pattern so the light could be pass through such as: Kilen and lion. The meaning of design was from the lanna literature.
The second set was for decorated on the balcony design in square shapes. The idea was form Kan Kaew Thang Sam, decorated with Ham Yon and ornament and cut through the pattern so the light could be pass through and decorated with 12 animals from Chinese calendar years or 12 Nagasat. The meaning of design was for prosperity to habitant because Lanna people believe and worship in 12 Nangasat.
The third set was for decorated in VIP room design in tri angular shapes, The idea was form Kan Kaew Thang Sam, decorated with Ham Yon ornament and cut through the pattern so the light could be pass through and decorated with Lanna local life style wall painting. The meaning of design was welcome to visit Lanna with real feelings.
All product were produced from local clay: Mon Kaew Kaew , Tambon Pichai , Lampang province for special effect of red color from clay after firing was similar to Lanna Lacquer ware , produced by slip casting technique, decorated with carving technique ( embassed design ) relief technique , over glazed painting , surface burnishing and firing at 1,100 °C.
From this design, Lanna Landle design project could show the expression of researcher quite well, but the problem was the products which had big sizes. They were difficulted to control the quality, such as: drying, firing and carrying products. It was rather difficult to work with very large pieces in slip casting technique. This problem will remind the researcher to develop design and production technique in the future.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เครื่องเคลือบดินเผา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A. (Ceramics))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
Collections:
Total Download:
219