การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงเทียนเซรามิกที่มีแนวความคิดจากช้างโดยใช้ดินเอิทเทนแวร์
Other Title:
The ceramics candlestick in elephant design and made by earthenware
Author:
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเชิงเทียนเซรามิกที่มีแนวความคิดจากช้าง สำหรับเป็นสินค้าประเภทที่ระลึกส่งออกตลาดอเมริกาและจำหน่ายแก่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ และเพื่อทดลองผลิตเชิงเทียนเซรามิกจากเนื้อดินเอิทเทนแวร์ ทำการศึกษาโดยดำเนินการออกแบบและพัฒนารูปแบบเชิงเทียนโดยใช้ แนวความคิดจากช้างให้มีลักษณะร่วมสมัยที่ผสมผสานกับเอกลักษณ์ของความเป็นเอเชีย ดำเนินการทดลองเนื้อ ดินโดยใช้ดินเอิทเทนแวร์บ้านหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พัฒนาเป็นน้ำดินหล่อโดยใช้วัตถุดิบร่วม คือดินขาวลำปางและซิลิกา ขึ้นรูปโดยการหล่อน้ำดินในแม่พิมพ์ปลาสเตอร์แบบกลวง
ผลการศึกษาพบว่า
1. สามารถนำรูปแบบช้างเอเชียมาออกแบบเป็นเชิงเทียนให้มีลักษณะเรียบง่าย ร่วมสมัย และมี เอกลักษณ์ของความเป็นเอเซีย จำนวน 10 รูปแบบ 3 ขนาด สำหรับวางเทียนทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว 2.5 นิ้ว และ 2 นิ้ว
2. สามารถนำดินบ้านหนองแก๋ว มาทำเป็นน้ำดินหล่อแบบกลวง โดยมีอัตราส่วนผสมของดินบ้านหนองแก๋วร้อยละ 40 ดินขาวลำปางร้อยละ 50 และซิลิการ้อยละ 10 โดยมีคุณสมบัติคือ หดตัวหลังเผาร้อยละ 12.9 -การโก่งงอ 3.2 มิลลิเมตร ความแข็งแรงเมื่อแห้ง 40 นิวตันต่อตารางเมตร ความแข็งแรงหลังผา 330 นิวตันต่อ ตารางเมตร และอัตราการดูดซึมน้ำร้อยละ 4.9 นอกจากนี้ยังสามารถนำดินบ้านหนองแก๋วมาผสมเป็นสูตรเคลือบ โดยมีส่วนผสมคือ
สูตรที่ 1 ดินบ้านหนองแก๋วร้อยละ 30 แคลเซียมคาร์บอเนตร้อยละ 30 และโปแตชเฟลด์สปาร์ร้อย ละ 40 ทำให้เกิดสีน้ำตาล โดยเพิ่มแมงกานีสไดออกไซด์ร้อยละ 3 ทำให้เกิดสีดำโดยเพิ่มคอปเปอร์คาร์บอเนตร้อย ละ 7 ทำให้เกิดสีเขียวโดยเพิ่มโครมิคออกไซด์ร้อยละ 2.5
สูตรที่ 2 ดินบ้านหนองแก๋วร้อยละ 10 แคลเซียมคาร์บอเนตร้อยละ 30 และโปแตชเฟลด์สปาร์ร้อย ละ 60 ทำให้เกิดสีเขียวนวลโดยใช้เซอร์โคเนียมซิลิเกตร้อยละ 15 และคอปเปอร์คาร์บอเนตร้อยละ 0.5 ทำให้เกิดสี ชมพูโดยใช้ดีบุกออกไซค์ร้อยละ 4 และโครมิคออกไซค์ร้อยละ 0.2 และทำให้เกิดสีครามโดยใช้แมงกานีสได ออกไซด์ร้อยละ 1.5 และโคบอลต์ออกไซด์ร้อยละ 0.3
3. สามารถผลิตในเชิงอุตสาหกรรมโดยวิธีการหล่อน้ำดิน แยกต้นแบบเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนตัวช้าง งวง และถ้วยรับเทียน ทำการสร้างต้นแบบตัวช้างและงวงขนาดใหญ่ด้วยวิธีการปั้น สำหรับขนาดกลางและเล็กใช้ วิธีการเผาย่อส่วนตามลำดับ ถ้วยรับเทียนสร้างต้นแบบด้วยการกลึง มีการเผาสองครั้งคือ เผาดิบที่อุณหภูมิ 750 องศาเซลเซียส และเผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศออกซิเดชั่น The purpose of this study is to design and make ceramic candleholders inspired by elephants from
earthenware in order to export to the U.S.A. as a souvenir and sell to customers inside and outside Thailand. In addition, these candleholders are designed and developed from the idea that I have tried to make a contemporary candlestick in elephant shape from earthenware clay to make it look ASIAN. I used the earthenware clay from Ban Nhong Kaew Hang Dong County, Chiang Mai Province as slip mix with Kaolin from Lampang Province and Silica then forming by using slip casting method in a hollow plaster mold.
The Result
1. Built 10 styles of simple and contemporary elephant shape candleholders in 3 different sizes of
2,2.5 and 3 inches in diameter candles
2. Used the yellow earthenware clay as slip and proportion was Nhong Kaew clay 40%, Kaolin
50% and Silica 10%. The characteristic of this candleholders after firing are 12.9% Shrinking Rate, 3.2 mm.
Bending Rate, 40 Newton per square meter Green Strength, 330 Newton per square meter Modulus of Rupture, and 4.9% Water Absorption. Moreover, I developed Nhong Kaew clay as glazed. There are 2 mixture
formulars
Formular 1. Nhong Kaew clay 30%, Calcium Carbonate 30%, and Potassium Feldspar 40%
adding Manganese Dioxide by 3 % will make it brown or Copper Carbonate by 7 % will make it black or
Chromic Oxide by 2.5 % will make it green.
Formular 2 Nhong Kaew clay 10 %, Calcium Carbonate 30 %, and Potassium Feldspar 60%
adding, Zirconium Silicate by 15 % and Copper Oxide by 0.5 % will make it soft green, Tin Oxide by 4 % and Chromic Oxide by 0.2% will make it pink or Manganese Dioxide by 1.5% and Cobalt Oxide by 0.3 % will
make it indigo.
3. Produced in mass production by using slip casting method and separating master mold in 3
parts; the body, the trunk, and the small plate. Making the large size model first for the body and the trunk by hand while making medium size models and small size models by firing the large size models and the medium size models which shrank respectively. The small plates are built by turning machines. The products are fired twice, biscuit firing at 750 celsius and glost firing at 1200 celsius, in oxidation atmosphere.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เครื่องเคลือบดินเผา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 Thesis (M.A. (Ceramics))--Silpakorn University, 2002
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
Collections:
Total Download:
600