เรือนอัตลักษณ์พื้นถิ่นไทย 2002
Other Title:
Thai house 2002
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางกระบวนความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย โดยใช้ปัจจัยขั้นพื้นฐานซึ่งได้แก่บ้านเป็นหัวข้อหลักในการจัดทำวิยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์เล่มนี้จะแสดงถึงที่มาที่ไปของรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในภาคกลาง ซึ่งมาจากการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลในขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิจนได้ข้อมูลที่เป็นความจริงด้านภายภาพ ต่อจากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาเข้าสู่กระบวนการคลี่คลายเชิงกายภาพ โดยที่ใช้วิธีการภาพปะติดมาเป็นเครื่องมือในการหาแนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม เมื่อได้แนวความคิดในการออกแบบซึ่งมีลักษณะเป็นแผนภูมภาพและนำเอามาใช้ในการพัฒนาเข้าสู่กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม ในส่วนของกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมได้มีการพัฒนาจากการออกแบบขั้นต้นไปจนถึงการออกแบบขั้นสุดท้าย
จากการทำวิทยานิพนธ์สรุปได้ว่า
1. กระบวนการทางความคิดที่มาจากการใช้ภาพปะติดสามารถสะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเดิมให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น
2. รูปแบบสถาปัตยกรรมขั้นสุดท้ายสามารถตอบโจทย์ของความเป็นร่วมสมัยได้เป็นอย่างดีแต่จะมีในบางประเด็นซึ่งเป็นประเด็นขัดแย้งเมื่อมองย้อนกลับไปยังสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเดิม เช่นมิติของหลังคาที่มีความแตกต่าง
3. รูปแบบของสถาปัตยกรรมขั้นสุดท้ายเป็นไปได้มากที่จะอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมเดิม โดยที่ไม่ได้กระทบกระเทือนกับบริบทเดิมที่เป็นอยู่ The objective of this thesis is to search for the new thoughts in design contemporary architecture. The subject of this thesis is the house which is one of the basic infrastructures of life.
The thesis shows the local architecture in central area of Thailand derived from the gathering of primary and secondary information. After the information has ben analyzed, the next step is the process of diagram for conceptual design where collage becomes a functional tool. When the diagram for conceptual design is done, it will be developed to schematic design. In the process of design, this pre-design will be finalized to be the ultimate architect design.
The summary of this thesis
1. Conceptual design where the collage is applied can reinforce the identity of the
local architecture.
2. The final design represents the contemporary architecture; however, there are some
contrast issues when compared with local existing architecture.
3. The final design of architecture is likely to be able to fit in with the environment where
the existing architecture is located and it doesn’t have any impact on the remaining
context.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
379