การละเล่นขอทานกระยาสารทกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวคลองบ้านไทร แขวงบางระมาด เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
Other Title:
Krayasat begging and traditional folkways in Klong Ban Sai Community, Bangramard, Taweewattana, Bangkok.
Date:
2011-07
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สองฝั่งคลอดบ้านไทร แวงบางละมาด เขตทวีวัฒนาในอดีตเคยเป็นชุมชนที่อาศัยเส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ต่างยึดมั่นในประเพณีทางพุทธศาสนา และประเพณีหนึ่งที่สำคัญคือประเพณีวันสารทหรือวันสารทเดือนสิบที่นิยมนำผลผลิตจากข้ามที่ปลูกมาทำกระยาสารทเพื่อทำบุญ และก่อนวันสารท 1 วันจะมีการละเล่นขอทานกระยาสารท โดยชาวบ้านรวมกลุ่มกันปลอมตัวเป็นขอทานพายเรือไปตามท่าน้ำหน้าบ้านต่าง ร้องเพลงขอทาน ขอความเมตตาสงสาร บางที่ก็ขับขานเป็นเรื่องราวในวรรณคดี เพื่อขอทานกระยาสารทเป็นเรื่องสนุกสนานและสร้างความสามัคคี ส่วนกระยาสารถที่ได้มาจะรวบรวมไว้ทำบุญในวันรุ่งขึ้น การละเล่นขอทานกระยาสารทย่านคลองบ้านไทรนี้มีการสืบทอดกันมายาวนานกว่า 80 ปี และเลิกหายไปรวม พ.ศ. 2525 เนื่องจากพื้นที่นาย่านคลองบ้านไทรหมดไปกลายเป็นบ้านจัดสรร ชาวบ้านไม่ค่อยกวนกระยาสารทกัน มีการตัดถนนผ่านหลายสายทำให้เส้นทางคมนาคมทางน้ำหมดความสำคัญลง การศึกษาการละเล่นขอทานกระยาสารทย่านคลองบ้านไทรจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะทำให้เข้าใจในวิถีชีวิต การละเล่นขอทานกระยาสารทเพลงขอทาน และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของย่านคลองบ้านไทร ทุกวันนี้ชุมชนคลองบ้านไทรนำโดยชาวบ้าน โรงเรียนคลองต้นไทร(สุขล้อมอุทิศ) และสำนักงานเขตทวีวัฒนาตระหนักถึงความสำคัญของการละเล่นขอทานกระยาสารท จึงร่วมมือกันส่งเสริมและฟื้นฟูการละเล่นขอทานกระยาสารทเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของย่านนี้ไว้ The Klong Ban Sai community in Bangramard, Taweewattana District, Bangkok, used to depend on ‘water’ as the main mode of transport. Most residences grew rice for a living. They have a strong faith in Buddhism. One of the most important traditions is the Sart Festival in the tenth lunar month. They usually made ‘Krayasart’ (Sweet for Sart Rite) from the rice they grew and offered it to the monks at the temple for merit-making. One day before the Sart Day, there was a play, called Krayasart Begging. The locals gathered together to play beggars, rowing their boats along the klong, passing the houses’ piers and singing beggar’s songs to ask for mercy. Some songs told the stories from literature. They did these things to ask for Krayasart which they used for merit-making the next day. The play had been performed for more than 80 years before its end around 1982 due to the replacement of the residential area of Klong Ban Sai by the modern real estate projects. Locals barely made Krayasart. Also, there were many roads built so the water transportation becameless important. The study of Krayasart Begging in the area of Klong Ban Sai is interesting, because it allows us to understand the folkways, the Krayasart Begging, Beggar’s songs, and the cultural changes in the Klong Ban Sai area. Nowadays, the locals are aware of the importance of the play and are trying to preserve it by continuing the play. This activity will revive the local wisdom and culture which is unique to the area.
Type:
Is part of:
ดำรงวิชาการ ปีที่ 10, ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2554) : 39-62
Spatial Coverage:
คลองบ้านไทร (กรุงเทพมหานคร)
Total Download:
331