พัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองนครปฐมโบราณ: ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นที่ตำบลธรรมศาลา

Other Title:
On the cultural development of ancient Nakhon Pathom : new data from the excavation at Tambon Dhammasala
Author:
Date:
2011-01
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การขุดค้นทางโบราณคดีที่ตำบลธรรมศาลา มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบลำดับพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของเมืองนครปฐมโบราณ ผลการขุดค้นบ่งชี้ว่าบริเวณแหล่งโบราณคดีแห่งนี้มีร่องรอยหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในช่วงสมัยทวารวดีเท่านั้น ชั้นวัฒนธรรมช่วงแรกหรือหลักฐานการประกอบกิจกรรมระยะเริ่มต้นที่ปรากฏภายในหลุมขุดค้นคงมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 โดยมีข้อสังเกตว่าในชั้นวัฒนธรรมช่วงหลังของการอยู่อาศัยจะมีโบราณวัตถุประเภทสิ่งของต่างถิ่นปรากฏขึ้นโดยเฉพาะลูกปัดแก้วสีเดียวและเศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง อันแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมบางประการที่สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ส่วนการขุดค้นในชั้นกิจกรรมระยะสุดท้ายไม่พบโบราณวัตถุสมัยหลังทวารวดีเลย ดังนั้นชุมชนโบราณที่ตำบลธรรมศาลาแห่งนี้คงถูกทิ้งร้างไปในราวพุทธศตวรรษที่ 16 The objective of the excavation at Tambon Dhammasala is to study the cultural development of the ancient community that occupied the eastern part of ancient Nakhon Pathom. The archaeological results demonstrate the human occupation during the Dvaravati period. The first cultural layer or early phase of the occupation probably emerged around the 7th - 8th century A.D. It should be noted that monochrome glass beads and Chinese T’ang ceramics were only discovered in the later phase of the occupation. These imported artifacts indicate some cultural change which (it is assumed) started around the 9th century A.D. The excavation in the last occupied layer shows no evidence of post-Dvaravati artifacts. Thus, the abandonment of the ancient Dhammasala community possibly happened around the 11th century A.D.
Type:
Is part of:
ดำรงวิชาการ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2554) : 224-245
Spatial Coverage:
ธรรมศาลา (นครปฐม)
Collections:
Total Download:
294