โครงการออกแบบเครื่องประดับในฐานะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของกลุ่มชายรักชาย
Other Title:
Jewelry as a relationship
Author:
Advisor:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ในอดีตสังคมและวัฒนธรรมไทยเป็นสังคมที่มีบรรทัดฐานของความปกติทางเพศแบ่งเป็น 2 เพศ คือ เพศชาย และเพศหญิง ความคาดหวังในบทบาททางเพศของสังคมต่อเพศชายว่าต้อง แข็งแรง เป็นผู้นำ เป็นผู้สืบสกุล เป็นเพศที่คู่กับเพศหญิง ความคิดเหล่านี้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน แม้จะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีเพศที่หลากหลายมากขึ้น แต่บางครอบครัวยังไม่ยอมรับกับการที่ลูกชายเป็นชายรักชายเพราะคิดว่าเป็นเรื่องผิดปกติ
โครงการวิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์การศึกษาต้นคว้าเพื่อนำไปสู่การออกแบบผลงานเครื่องประดับที่เปรียบเสมือนภาษา ใช้สื่อสารดึงความสัมพันธ์แบบคู่รักระหว่างคู่รัก และใช้สื่อสารทัศนคติของผู้ออกแบบที่มีต่อความสัมพันธ์ของคู่รักชายรักชายว่าเป็นเรื่องปกติไม่ได้แตกต่างไปจากความสัมพันธ์ของคู่รักชายหญิงออกสู่สังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคู่รักชายรักชาย อาศัยในเขตกรุงเทพฯอายุ 35-25 ปีเป็นกลุ่มบุคคลที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีความประพฤติดี เพื่อเป็นตัวแทนในการแสดงออกถึงทัศนคติที่ดีสู่สังคม
การศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณ์ คือ การใช้ ความหมายทับช้อนทำให้ตีความได้หลายอย่าง ผู้ออกแบบมีมุมมองต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นความสัมพันธ์ที่มีความซ่อนเร้นอันเกิดจากกรอบของสังคมและมีเสน่ห์เย้ายวนน่าค้นหา
เพื่อตอบจุดประสงค์และสะท้อนบุคลิกของกลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยได้นำเสนอผลงานการออกแบบเครื่องประดับจำนวนสองชุด ซึ่งมีแนวทางการออกแบบโดยใช้สัญลักษณ์ “คิง”(King), “ควีน” (Queen) ของหมากรุกสากล และวัสดุน้ำตาลเพื่อถ่ายทอดรสชาติความรักความสัมพันธ์ของคู่รักชายรักชายซึ่งมีความหอมหวานร่วมกับกิริยาท่าทางการการรับประทาน ซึ่งมีความเย้ายวน การมีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องประดับจะเปิดเผยถึง กลิ่น รสชาติ และสัญลักษณ์ของความเหมือนกันกับคู่รัก อื่นๆ ได้แก่ ตัวหมากรุก “เบี้ย” (pawn) ในเครื่องประดับชุดที่ 1 ซึ่งเป็นตัวหมากรุกธรรมดาแสดงถึง ความเป็นปกติทั่วไปในสังคม และ แหวนคู่ ในเครื่องประดับชุดที่ 2 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สากลของความเป็นคู่รัก เพื่อสื่อสารถึงทัศนคติเรื่องความสัมพันธ์ของคู่รักชายรักชายว่าไม่แตกต่างจากคู่รักอื่นๆ It has been known that Thai society has viewed gender as a binary concept: male and female. Even though it is incrementally accepted that there are more variations, the perception towards male gender as the stronger sex with more prominent leadership personality still dominates the ideology of most of the Thais. As a result of that, to some families, the concept of homosexuality is still considered unorthodox and deviant.
Jewelry is utilized to represent the male homosexual’s relationship. The project’s objective is to study the art of jewelry design as a language communicated between two homosexual individuals who are lovers as well as a tool that transmutes the designer’s attitude towards male homosexuals’ relationship as indifferent from other heterosexual couples. The target group of the work is the male homosexuals residing in Bangkok, age between 25 to 35 years old with successful career, good behavior and attitude about their own sexuality and homosexual relationship.
The findings obtained from the study and analysis of the male homosexuals in this particular target group show that these individuals possess obscure and ambiguous characteristics, which can lead to multiple interpretations. While individuals this target group have several conflicted personalities (strong but sensitive, reticent yet outgoing, making them sensually mysterious), behaviorally as a couple, they express their love and intimacy towards one another like most heterosexual couples.
The project consists of two set of jewelry pieces with sugar as one of the main components of the works. Inspired by the ‘King' and ‘Queen’ chess pieces, the works symbolize ambiguous relationship of the counterparts; the male homosexual couples. By ‘tasting’ the sugar off the pieces, the remaining parts of the jewelry become a series of couple rings (set 1) and the ‘Pawn’ pieces (set 2), both transmuting the notion that the relationship of male homosexual couples can be just as loveable and sweet as other heterosexual couples.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (การออกแบบเครื่องประดับ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556
Type:
Degree Name:
ศิลปมหาบัณฑิต
Discipline:
การออกแบบเครื่องประดับ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
194