รูปแบบศิลปกรรมและพัฒนาการของมัสยิดย่านปากคลองบางกอกใหญ่
Author:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
มัสยิดย่านปากคลองบางกอกใหญ่มีจำนวนห้าแห่ง มีประวัติศาสตร์มายาวนานตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตามลำดับ และมีการบูรณะเพื่อการใช้งานอยู่เสมอ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การเปลี่ยนแปลงของอาคารในแต่ละยุคสมัยที่มีลักษณะต่างกัน จึงทำให้ผู้ศึกษาเกิดความสนใจถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปกรรมของมัสยิดในบริเวณนี้ และได้ทำการรวบรวมข้อมูลประวัติการบูรณะทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมถึงข้อมูลจากการภาคสนาม แล้ววิเคราะห์ทุกปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ รูปแบบ ศิลปกรรม เหตุการณ์ร่วมสมัย สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ผลการศึกษาพบว่า มัสยิดกลุ่มซุนนีย์และชีอะฮ์บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอาคารของมัสยิดในแต่ละสมัยไปตามรูปแบบนิยมของแต่ละช่วงเวลา ได้แก่ กลุ่มชุนนีย์ ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ใช้อาคารแบบไทยประเพณีและพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมสร้างในหมู่ศาสนสถานในช่วงระยะนี้ ส่วนกลุ่มชีอะฮ์ ในช่วงรัชกาลที่ 5-7 ใช้อาคารหลังคาทรงปั้นหยา ซึ่งเป็นอิทธิพลจากชวาและมาลายู และกลายเป็นรูปแบบนิยมในหมู่อาคารบ้านเรือนทั่วไปของสยามในช่วงเวลานี้
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันออกไปทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่เปลี่ยนไปตามรูปแบบความนิยมยังแสดงให้เห็นถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในแต่ละยุคสมัยของมัสยิดย่านปากคลองบางกอกใหญ่ที่เจริญเติบโตควบคู่ไปทางเดียวกันสภาวะของอาณาจักรและประเทศ
ทั้งนี้ มัสยิดในย่านปากคลองบางกอกบางแห่งมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากมีเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละมัสยิด เช่น การอนุรักษ์ความโบราณและงบประมาณจำกัดของมัสยิดบางหลวงแนวคิดการผสมผสานความเก่าและใหม่ของกุฏีเจริญพาศน์ งบประมาณที่จำกัดและการบริหารแบบท้องถิ่นของมัสยิดดิลฟัลลาห์
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก
Total Download:
431