ดรรชนีความเขียวของเมืองเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองในภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย
Other Title:
Green city index for urban environmental planning of Thai cities in Lower Northern Region
Author:
Advisor:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยจากทฤษฎี แนวคิดและวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม เพื่อคัดกรองหาตัวแปรที่เหมาะสมในการเป็นดรรชนีวัดความเขียวของเมือง สาหรับสร้างแบบจาลองที่ใช้ในการประเมินชุมชนเมืองในประเทศไทย โดยทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสีเขียวในหลายมิติ ทั้งในด้านกรอบแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัยและกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 11 แนวคิด คือ แนวคิดเมืองสีเขียว แนวคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน แนวคิด การออกแบบกับธรรมชาติ แนวคิดเมืองกระชับ แนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด ผลการจัดลาดับความสาคัญของเมือง ดัชนีวัดความเขียวของเมืองในเอเชีย เทศบาลเมืองราชบุรี เทศบาลตาบลอัมพวา เทศบาลเมืองแกลง และเทศบาลนครเชียงใหม่ รวม 149 ตัวแปร
กระบวนการวิจัยประกอบไปด้วย ขั้นตอนการคัดกรองตัวแปรที่มีความเหมาะสมในในการสร้างแบบจำลอง จานวน 26 ตัวแปร จำนวน 6 กลุ่ม ประกอบไปด้วย กลุ่มด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม คมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน เศรษฐกิจและสังคม ผลตัวแปรที่ได้ในขั้นตอนนี้มีความสำคัญต่อการสร้างแบบจาลองวัดดรรชนีความเขียวของเมืองที่ได้ผ่านการคัดกรองที่ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญ ของการพัฒนาเมืองสีเขียวอย่างครบถ้วน โดยมีเกณฑ์เงื่อนไข ดังนี้ การเปรียบเทียบระดับความสำคัญ ของตัวแปรขั้นต้นด้วยวิธีการนับจำนวนแนวคิดที่ใช้ตัวแปรนั้น ความเหมาะสมกับบริบทของเมืองไทย ตัวแปรที่มีความสอดคล้องกับการจัดเก็บข้อมูลในระดับทุติยภูมิ และตัวแปรที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเมือง สีเขียว
ขั้นตอนการนำพื้นที่ศึกษามาทดลองในแบบจำลองจานวน 2 ทางเลือก ทำการสังเคราะห์มาตรการวัดของตัวแปรให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่เมืองในพื้นที่ศึกษา เพื่อทำการประเมินทางเลือกแบบจาลองที่มีความเหมาะสมที่สุดโดยมีหน่วยการวัดเป็นค่าร้อยละ (Percentage) แบบจำลองวัดดรรชนีความเขียวของเมืองที่ได้มีความสำคัญในการใช้ประเมินความเขียวของเมือง ทำให้ทราบว่าตัวแปรกลุ่มใด เป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อนในพื้นที่เมือง เพื่อสามารถใช้แบบจำลองเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมตัวแปร ที่เป็นจุดแข็ง และปรับปรุงพัฒนาตัวแปรที่เมืองยังอ่อนด้อย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนาแบบจำลองไปใช้เป็นแนวทางและเครื่องมือการพัฒนาเมือง เพื่อนาไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาเมืองสีเขียว The main objective of this research was to study, analyze, and evaluate variables mentioned in theories, concepts, and research that are related to urban planning for Green City. The result of the process is a set of variables used to construct a Green City Index that is reliable and applicable for evaluating cities in Thailand.
Eleven theories, concepts and research works involving Green City development planning were studied.They were green city, sustainable development, design with nature, compact city, smart growth, urban ranking, Asia's Green City Index, and 4 research works on green city evaluation of Rachaburi, Amphawa, Klaeng, and Chiang Mai.
There were 2 major stages in the analysis of the variables. The first stage was to study those 11 concepts and collect all varibles into a collection.This process resulted to a total of 149 variables. The second stage was to extract only significant variables related to Green City for the development of the Green City Index for cities in Thailand. The stage involved 2-steps extraction - 1. by the author, 2. by experts.
The extraction by the author processed all 149 variables through 4 sets of criteria - 1. Level of importance by measuring the number of appearances of the variable in the 11 concepts, 2. applicability to cities in Thailand, 3. availability of the data in Thailand, 4. level of relationship to the research's green city definition. The variables resulted from this step were reviewed by the experts in the fields of urban planning, environmental planning,sustainable development, and green building.
There are a total of 26 variables in the final set of variables to be applied in the suggested Green City Index evaluation model. They are classified into 6 groups including 7 physical variables, 6 environmental variables, 8 transportation variables, 3 infrastructure variables, 2 Energy variables and 4 Economics and social variables. The Green City Index model calculates the variables into (Percentage) indices for its applicability for evaluation of Green City of cities in Thailand.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ผ.ม. (การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557
Type:
Degree Name:
การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต
Discipline:
การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
Spatial Coverage:
ภาคเหนือ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
742