การรักษาความสำคัญและคุณค่าพื้นที่ทางประวัติศาสตร์เส้นทางรถไฟสายมรณะ
Other Title:
Retaining historic areas' significance and value of the death railway line, Kanchanaburi
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎี แนวคิด เกี่ยวกับการรักษา และอนุรักษ์คุณค่าของพื้นที่ประวัติศาสตร์ และวิเคราะห์หาความสำคัญและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเส้นทางรถไฟสายมรณะ เพื่อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเส้นทางรถไฟสายนี้ขอบเขตของการวิจัยครอบคลุมการศึกษาลักษณะกายภาพปัจจุบันของพื้นที่ตามแนวยาวเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่าที่ส่งผลต่อคุณค่าทางประวัติศาสตร์คุณลักษณะทางประวัติศาสตร์ และบ่งชี้ถึงความสำคัญและคุณค่าทางนามธรรมที่ถือเป็นส่วนที่สร้างความหมายให้กับเส้นทางรถไฟสายมรณะ วิธีการวิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารบันทึกเรื่องราว และบทความที่เกี่ยวข้อง และการสำรวจภาคสนาม พื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ตามแนวยาวของเส้นทางรถไฟจากสถานีหนองปลาดุก ถึงด่านเจดีย์สามองค์ วิธีการวิเคราะห์หาคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ใช้ เทคนิคการวิเคราะห์หาศักยภาพของพื้นผิว หรือ Potential Surface Analysis (PSA) รวมทั้งการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลสรุปจากการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของพื้นที่ประวัติศาสตร์เส้นทางรถไฟสายมรณะที่มีคุณค่า ความสำคัญ ในแต่ละตัวแปร ทั้งทางด้านกายภาพ ประวัติศาสตร์ และนามธรรม ที่ มีความสำคัญมากที่สุด คือ สุสานพันธมิตร (บ้านดอนรัก) สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสาน สหประชาชาติ (เขาช่องไก่) สะพานถ้ำกระแซ (โค้งมรณะ) และช่องเขาขาด พื้นที่ที่มีคุณค่าและความสำคัญระดับสูงเหล่านี้ แสดงถึงสิ่งก่อสร้างและบริเวณพื้นที่ทั้งที่อยู่ตามยาวแนวเส้นทางและอยู่นอกเส้นทางที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ บนพื้นฐานของการระลึกจดจำได้ มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พื้นที่ประวัติศาสตร์เหล่านี้เป็น “มรดกแห่งความโหดร้าย” ที่ถ่ายทอดให้ผู้คนได้รับรู้เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตมาจนถึง ปัจจุบัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดรูปแบบของการอนุรักษ์ที่เป็นมาตรฐานสากล สามารถนำไปใช้กำหนดกรอบแนวทางในการวางแผนอนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมรวมไปถึงการวางผังเมือง ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินและการอนุรักษ์เมืองกาญจนบุรีในอนาคต The purpose of this research is to study the theory and concept of preservation and conservation of valuable historic areas, and to analyze the Death Railway for its historical significances and values so that comprehensive suggestions and guidelines can be made regarding the conservation of such valuable historic railway. The scope of the research covers the characteristic study of the existing terrain along the thai-burma railway which may affect historical and characteristic values, as well as its importance and abstract value. The research method is based on the information collected from the past records, related articles and field surveying of the areas along railway starting from Nong Pra Duk station to Jae Dee Sam Ong Pass. Potential Surface Analysis (PSA) and Content Analysis techniques are utilized in this study.
Based on the results found, components of the areas related to the historic railway can be classified into three importance orders considering three important factors: physical, historical and abstract values. The most important order is order one. This includes The Kanchanaburi War Cemetery (Ban Don Rak), The Bridge of the River Kwai, The United Nations Cemetery (Chong Kai), Krasae Cave (Death or cave Krasae) and Hellfire Pass. Such areas with highly historical value along the railway and in the proximity deserve conservation for memorability of the past event during the WWII, and signify “the Heritage of Horror” to the people of what has happened in the past till today. Moreover, it is in accord with the international standard concept of conservation practice, and can be used to set the concept framework of historical conservation areas, cultural heritages, land-use planning and control as well as the conservation of Kanchanaburi province in the future.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ผ.ม. (การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555
Type:
Degree Name:
การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต
Discipline:
การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
Spatial Coverage:
กาญจนบุรี
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
803