คติความเชื่อและภูมิปัญญาซึ่งสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐาน ผังหมู่บ้านและบ้านเรือนของชุมชนชาติพันธุ์ลัวะในประเทศไทย
Other Title:
Ritual believe and local wisdom in relation with village settlement and houses of the Wa athnic in Thailand
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้ มุ่งเน้นศึกษาด้านการจัดสรร คัดเลือกพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำการเกษตรกรรมในรูปแบบหมู่บ้าน การจัดวางแผนผังหมู่บ้าน รวมถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาวลัวะ ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ทางตอนเหนือ ที่อาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นในจังหวัดน่าน เชียงราย พะเยา บริเวณหุบเขา เทือกเขาและที่อยู่บนพื้นราบอีก 2-3 หมู่บ้าน จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจด้านสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี ภูมิปัญญา และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบการตั้งถิ่นฐาน ผังหมู่บ้านและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาวลัวะ ในพื้นที่จังหวัดน่าน ที่ได้รับผลจากความเชื่อและภูมิปัญญา รวมถึงปัจจัยต่าง ๆที่แตกต่างกันทั้งสามพื้นที่การศึกษา และระบบสังคมทั้งภายในและสังคมแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนอยู่ในรูปแบบชาวลัวะในปัจจุบัน
จากการศึกษาพบว่า ชาวลัวะมีทั้งความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม และมีการเปลี่ยนแปลงบางส่วน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบที่ตั้งถิ่นฐานนั้น เนื่องจากการอพยพหนีการปราบปรามคอมมิวนิสต์ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบผังหมู่บ้านนั้น มีผลจากการขยายตัวของหมู่บ้านที่เกิดจากประชากรมากขึ้น ซึ่งลักษณะการขยายตัวของหมู่บ้าน ก็มีปัจจัยทางสภาพภูมิศาสตร์ พื้นที่ทำการเกษตร การถูกจำกัดพื้นที่และความเชื่อในการเลือกพื้นที่ปลูกเรือนมาเป็นปัจจัยสำคัญ ส่วนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก สภาพสังคมที่มีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น ค่านิยม วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ที่ได้หลั่งไหลเข้ามาในชุมชนลัวะ ส่วนความเชื่อดั้งเดิมนั้น ยังคงดำรงอยู่แต่น้อยลงรวมถึงได้เปลี่ยนแปลงและผสมกลมกลืนกับการนับถือพุทธศาสนาไปแล้ว
จากการศึกษาสรุปได้ว่า คติความเชื่อและภูมิปัญญาซึ่งสืบพันธ์ กับการตั้งถิ่นฐานและผังถิ่นฐานและผังหมู่บ้านนั้น สามารถนำไปใช้ได้ทุกพื้นที่ เพราะเป็นความเชื่อและภูมิปัญญาที่ป้องกันการเกิดอันตรายที่บอกกล่าวสืบต่อกันไว้อย่างรอบคอบ และครอบคลุมได้อย่างครบถ้วนอยู่แล้ว แต่สำหรับคติความเชื่อและภูมิปัญญาซึ่งสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาวลัวะนั้น เมื่อพื้นที่หมู่บ้านด้านภูมิศาสตร์ต่างกัน ความเชื่อที่เกี่ยวกับเรือนนั้นจึงต่างกัน ซึ่งความเชื่อดั้งเดิมมีการเฉพาะเจาะจงมากเกินไป ทำให้บางพื้นที่ไม่สามารถปรับให้เข้ากับความเชื่อได้ จึงทำให้ความเชื่อและภูมิปัญญาในบางเรื่องซึ่งขัดกับพื้นที่นั้น มีการละเลยจนทำให้เลือนลางจางหายไปในที่สุด This research aims to study the allocation of selected residential areas. Organized layout of the village. Including local residents Wa architecture. The northern ethnic groups that live together are concentrated in Nan, ChaingRai, Phayao, the area of mountains and valleys on the plains another 2 to 3 villages that living together in a densely. It is interesting aspects of the habitat conditions that are different in geography such as Life. Wisdom and faith traditions of vernacular architecture. This study is a comparison of the settlement housing layout and architecture of local residents in the area of Nan Wa. That is faith and wisdom that include Variety of factors, including factors that differ in three areas of study and social systems, both internal and social environment that makes a girl changes until people are in a Wa today.
The study found that people with both Wa being traditional and has changed some. The change in format due to the settlement of immigrants fled the communist suppression. Transformation from a chart of the village as a result of the expansion of the village caused by increased population, Geographical factors, Agricultural area, The restricted area and believe in choosing the area and believe in choosing the area build a house. The vernacular architecture that has been changed due to social conditions that are more in touch with society, culture, traditions, values that are secreted into the Wa community. Also the traditional beliefs still exist but less including a year’s ordinary shares and the assimilation of Buddhist already.
The study concluded that Faith and wisdom associated with the settlement and village layout can be used locally that because it is faith and wisdom to prevent harm to parties on notice successor to ensure a comprehensive and fully covered already. However, for faith and wisdom of vernacular architecture associated with the Wa people, on different geographic areas Housing beliefs is too specific as a result for some areas that can not adapt to the faith and allowing faith and wisdom in all matters, which is contrary to that area are ignored until the fade away eventually.
Description:
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- วิทยานิพนธ์
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
Spatial Coverage:
น่าน
เชียงราย
พะเยา
เชียงราย
พะเยา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
497