ที่ว่างที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนทางสังคม : กรณีศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่าง และการปฏิบัติการทางสังคม ของพื้นที่เมืองเก่าลำพูน ตำบลในเมือง จังหวัดลำพูน
Other Title:
Effective spaces for sustainable society : case study of relative between space and social practice of old Lamphun city, Tumbon Naimuang, Lamphun puovince
Advisor:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่าง และกิจกรรมที่เกิดขึ้นของเมืองในระดับภูมิภาค กรณีศึกษากิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่างสาธารณะของเมืองเก่าลำพูน โดยใช้ชุดทฤษฎีเชิงสัณฐานวิทยาที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องของพื้นที่ และศักยภาพในการเข้าถึงโครงข่ายพื้นที่ว่างของเมือง ที่เรียกว่า “Space Syntax” (Hiller, 1984) วิเคราะห์ร่วมกับ การสังเกตรูปแบบของกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่างสาธารณะของเมือง ทั้งในช่วงเวลาปกติและช่วงวันสำคัญ
ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาปกติกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่างสาธารณะของเมืองลำพูน จะเกิดขึ้นกระจายทั่วไปในพื้นที่เมือง โดยมีอัตราการสัญจร หรือความนิยมในการใช้พื้นที่สูงสุดบริเวณพื้นที่ว่างกลางเมืองที่อยู่ในแนวแกนเหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก รูปแบบของกิจกรรมที่เกิดขึ้นมีความหลากหลาย และกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์กิจกรรมในพื้นที่ว่างส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มคนในระดับชุมชน ในขณะที่ในช่วงวันสำคัญ กิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่างสาธารณะจะลดลงไม่กระจายไปทั่วเหมือนเช่นในช่วงวันปกติ โดยมีอัตราการสัญจร หรือความนิยมในการใช้พื้นที่สูงสุดบริเวณพื้นที่ว่างกลางเมืองฝั่งตะวันออก รูปแบบของกิจกรรมที่เกิดขึ้น มีความเฉพาะสูงและกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์กิจกรรมในพื้นที่ว่างส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มคนในระดับเมืองเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่าการใช้งานพื้นที่ว่างสาธารณะของเมืองเก่าลำพูนในช่วงปกติ ต้องการลักษณะของพื้นที่ที่สามารถตอบสนองต่อกิจกรรมที่มีความยืดหยุ่น และหลากหลาย และกลมกลืนอยู่ในพื้นที่ย่อยระดับชุมชนได้ดี โดยศักยภาพในการเข้าถึงพื้นที่ว่าง หรือเส้นทางสัญจรเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะของเมือง และช่วยให้เกิดความเข้าใจในรูปแบบของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่างของเมือง จากวิถีของชีวิตประจำวันที่สะท้อนรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นผ่านพื้นที่ว่างและการปฏิบัติการในพื้นที่ของเมืองนั้นอย่างแท้จริง The Objective of this research is to study the relationship between space and activities that happen in the regional city, with special reference to Lamphun the old town. By using the theory of spatial morphology and potential of accessibility in spatial configuration that called “Space Syntax” (Hiller, 1984) to analyses with observations in the patterns of the activities in everyday life happened in public space together both of traditional and on daily timeline.
Result of the study shows that, during the day, the pattern of activities scattered over all of public space of the old Lamphun, and there is the highest circulation rate or popularity in spaces at the central area of the north-south and east-west axis. There is a various types of activities in the spaces and most of the people use spaces on the local level, however, during the traditional festival period, the pattern of activities in public space have decreased different by from in the daily time which have scattered over all the spaces. The highest circulation rate or popularity is found at the central area of the west side. The most used spaces for this period are on the global level. All of these show during the day, for the spaces to property function, they should accommodate the flexibility for various types of activities. It should also be harmonious with the local space. The potential of accessibility or the circulation is the main factor for the function of space. And help to understand the behavior patterns, from folk life in the everyday life, which happened in the public spaces. These also reflex the pattern of cultural though into the spaces and social practice that happened in the urban space truly.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
Spatial Coverage:
ลำพูน
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
899