พลวัตทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวจีนฮ่อ : กรณีศึกษาหมู่บ้านสันติชล ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Other Title:
Dynamic of Haw's vernacular architecture : case study at San Ti Chon, Pai District, Mae Hong Son
Author:
Advisor:
Subject:
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- ไทย -- หมู่บ้านสันติชล (แม่ฮ่องสอน)
สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย -- ไทย -- หมู่บ้านสันติชล (แม่ฮ่องสอน)
แม่ฮ่องสอน -- ความเป็นอยู่และประเพณี
ฮ่อ
ชาวจีน -- หมู่บ้านสันติชล (แม่ฮ่องสอน)
หมู่บ้านสันติชล (แม่ฮ่องสอน) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
หมู่บ้าน -- ไทย -- แม่ฮ่องสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ฮ่อ -- ที่อยู่อาศัย
ที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง -- แม่ฮ่องสอน -- วิจัย
สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย -- ไทย -- หมู่บ้านสันติชล (แม่ฮ่องสอน)
แม่ฮ่องสอน -- ความเป็นอยู่และประเพณี
ฮ่อ
ชาวจีน -- หมู่บ้านสันติชล (แม่ฮ่องสอน)
หมู่บ้านสันติชล (แม่ฮ่องสอน) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
หมู่บ้าน -- ไทย -- แม่ฮ่องสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ฮ่อ -- ที่อยู่อาศัย
ที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง -- แม่ฮ่องสอน -- วิจัย
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
พลวัตทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวจีนฮ่อ : กรณีศึกษาหมู"บ้านสันติชล ตำบลเวียงใต้
อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของบ้านเรือน
ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใดหลังจากเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปในด้านต่าง ๆ ที่
เกี่ยวเนื่อง อาทิเช่น ด้านการท่องเที่ยว การคมนาคม ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่เข1ามามีผลกับวิถี
ชุมชน
จากการศึกษาได้ลงพื้นที่ทำสำรวจชุมชน โดยทำการเลือกกรณีศึกษาขึ้นมาเพื่อทำการ
สำรวจโดยละเอียด ทำการศึกษาวิเคราะห์ทั้งในด้านการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง การใช้สอย ว่ามี
รูปแบบแตกต่างไปจากเดิมอย่างไรบ้าง โดยทำการเปรียบเทียบจากโครงการการศึกษา บ้าน หมู่บ้าน
และเทคโนโลยีของหมู่บ้านจีนฮ่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อรศิริ ปาณินท์, 2540) เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบ
และพัฒนาการของบ้านจีนฮ่อที่หมู่บ้านสันติชลว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด
และมีแนวโน้มอย่างไรในอนาคต
ผลจากการศึกษา พบว่า ภายในหมู่บ้านสันติชลนั้น รูปลักษณะของเรือนยังคงเป็นเรือน
ชั้นเดียว ลักษณะการสร้างเรือนยังคงเป็นรูปแบบเดิม หากแต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คือ
การใช้สอยวัสดุ โดยเลือกใช้วัสดุที่มีความคงทนและถาวรมากขึ้น เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นผนัง
บ้านดินดิบหรือไม้ไผ่ นอกจากนี้บ้านที่อยู่ติดกับริมถนนด้านหลังของหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะมีอาชีพ
ค้าขายเพิ่มเข้ามาไม่ได้มีอาชีพแค่การเกษตรอย่างเดียว ทำให้สรุปได้ว่าเรือนของชาวจีนฮ่อนั้นจากอดีต
จนถึงปัจจุบันแม้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากแต่ก็ยังสามารถคงเอกลักษณะของเรือนชั้นเดียวแบบจีน
ในชนบทของตนเองไว้ได้อยู่หากแต่มีการปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพในสภาวะ
ปัจจุบันเพียงเท่านั้น ลักษณะเรือนที่พบเห็นในปัจจุบันยังคงบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของเรือนใน
ชนบทของจีนทางตอนใต้ได้อย่างชัดเจน Dynamic of Haw’s Vernacular Architecture : Case study at Santichon Village
Vieng Tai ,Pai District Mae Hong Son .To learn about the changing of the homes that how to
changed, why, after began to change in related areas such as tourism, transport,
infrastructure, which came into effect on lifestyle.This study was survey the village
community. Select a case study on to analyzed both in terms of construction, materials and
living a different style from the original does. Compare with “The estimation of the House
Education and Technology of Chinese Haw village. Mae Hong Son” (Ornsiri Panint, 2540) to
determine the model and development of Chinese Haw village that why and how the changes
are likely in the future have changed to some reason and future trends.
The study found that the model of the house is still a single storey house still looks
as the original model what the mostly has changed is the material. Changed from the raw clay
walls or bamboo to materials that more durable and permanent .In addition to the houses
are close to the streets back of the village most merchants are added farmers do not have a
professional one.
Conclude that the house of Chinese Haw, from past to present. It has changed a
lot, but it can also be single storey house, the uniqueness of the Chinese people on their own.
If I had to modify the material to suit the current conditions only. Characteristics observed in
the present case, which still conveys the identity the houses of the countryside villages in the
south of China.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
Spatial Coverage:
หมู่บ้านสันติชล (แม่ฮ่องสอน)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
155
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมืองท่องเที่ยวในชนบท : กรณีศึกษาเมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Collection: Theses (Master's degree) - Urban Design / วิทยานิพนธ์ - การออกแบบชุมชนเมืองType: Thesisโอฬาร เจริญชัย; Orarn Charoenchai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2002) -
การวิเคราะห์แบบแผนการกระจายตัวและแปลความหมายของหลักฐานทางโบราณคดีประเภทกระดูกสัตว์จากแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Collection: Theses (Master's degree) - Prehistorical Archaeology / วิทยานิพนธ์ – โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์Type: Thesisอนุสรณ์ อำพันธ์ศรี; Anusorn Amphansri (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความหมายของแบบแผนการกระจายตัวของหลักฐานทางโบราณคดีประเภทกระดูกสัตว์ และเปลือกหอย และเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ในกิจกรรมการอยู่อาศัยของกลุ่มคนล่าสัตว์-เก็บหาอาหารที่เข้ามาใช้พ ... -
งานช่างฝีมือในยุคเหล็กของวัฒนธรรมโลงไม้บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Collection: Article - Archaeology / บทความทางวิชาการ – โบราณคดีType: Articleรัศมี ชูทรงเดช; Rasmi Shoocongdej (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014-01)วัฒนธรรมโลงไม้ มีอายุระหว่าง 2,600-1,000 ปีมาแล้ว เป็นตัวแทนของพิธีกรรมการฝังศพของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะสมัยเหล็กบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังพบกระจายในจังหวัดเชียงใหม่และกาญจนบุรี ...