ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมืองท่องเที่ยวในชนบท : กรณีศึกษาเมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Title:
= Relationships between attitudes of local people and tourists and physical changes of a rural tourism town : the case study of Pai, Maehongson province
Author:
Advisor:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการเลือกที่ตั้งของศูนย์ราชการแห่งใหม่ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกที่ตั้งของศูนย์ราชการที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ตามจังหวัดต่าง ๆ และเพื่อให้ได้พื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการจัดตั้งศูนย์ราชการในอนาคต
ขั้นตอนการศึกษาวิจัย
1. การเก็บข้อมูลจากจังหวัดที่ได้ดำเนินการเลือกที่ตั้งแล้ว โดยมี 4 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดพังงา เพื่อนำมาศึกษาวิธีการเลือกพื้นที่ที่จะเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการแห่งใหม่ ซึ่งมีวิธีการแตกต่างกันไป
2. ศึกษาและวิเคราะห์จากเกณฑ์ในการกำหนดเลือกที่ตั้งของศูนย์ราชการโดยกระทรวงมหาดไทยที่ใช้กันทุกพื้นที่
3. ศึกษาและวิเคราะห์จากแบบสอบถามและสัมภาษณ์ที่ได้จากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากบุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกที่ตั้งของศูนย์ราชการแห่งใหม่
4. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์มาสรุปปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งของศูนย์ราชการแห่งใหม่
ผลการวิจัยพบว่า
การเลือกที่ตั้งของศูนย์ราชการแห่งใหม่นั้น ไม่สามารถยึดหลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทยในการจัดหาที่ดิน เพื่อจัดตั้งศูนย์ราชการแห่งใหม่ได้ทั้งหมด สาเหตุเกิดจากแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันทางปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ภาครัฐเองก็ไม่สามารถทราบปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ดังนั้น จึงควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการของจังหวัดขึ้น โดยร่วมมือกับประชาชน เพื่อที่จะได้ทราบปัญหาต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบกับประชาชน ซึ่งจะทำให้สามารถหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์ราชการแห่งใหม่ได้ดีที่สุด
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ดการเลือกที่ตั้งของศูนย์ราชการแห่งใหม่ ประกอบด้วย ปัจจัยต้านแนวโน้มด้านการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ปัจจัยด้านนโยบายและลักษณะการใช้ที่ดิน ปัจจัยด้านการประหยัดงบประมาณ และความพร้อมของระบบโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยด้านความใกล้ไกลของระยะทาง ปัจจัยด้านความเป็นไปได้ของการนำที่ดินมาใช้ประโยชน์ ปัจจัยด้านการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ราชการแห่งใหม่
จากการศึกษาพบว่า บางพื้นที่อาจมีปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองและการเมืองท้องถิ่น ซึ่งมีผลทำให้อาจได้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งศูนย์ราชการก็ได้ ควรให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการพิจารณา เพื่อจะได้ที่ตั้งที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์ราชการแห่งใหม่ The study examines the relationships between attitudes of local people and tourists towards the physical changes of a rural tourism town and also factors that may be related to the attitudes in order to propose guidelines for conservation of the local characteristics of the town. A case study was conducted in a small tourism town in the northern part of Thailand, Pai, in Maehongson province.
A questionnaire interview was used to gather data. The questionnaire consisted mainly of 2 parts. The first part measures the attitudes towards the physical changes of the town, Respondents were asked to rate their preference on set of line drawing depicting physical changes in building styles, height, and density, in significant area of the town. The second part collected the respondents personal characteristics as well as other attitudes and behavior that may be related to their preference towards the physical changes. A total of 444 questionnaires completed. Of all the respondents, there were 230 local people, 18 local administrators, 3 local physical design professionals, 30 Thai tourists, 125 foreign tourists, and 38 physical design professionals from elsewhere.
The data analysis revealed that the overall attitudes towards physical changes of the town were similar in some ways between the local people and the tourists. Both groups preferred to see the local characteristics of the town over changes for more modernized, more dense built-up areas. When examining in more details, it was found that local people, to a certain degree, were susceptible to physical changes than the tourists. In addition, several factors were found to be related to the attitudes towards the physical changes of the town. For local people, these factors are: birthplace, length of stay, subscription to local organizations, taking part in local activities, education, profession, income, travel experience, attitudes towards development. For tourists, these factors are; required travel comfort, intended length of stay, purpose of travel, favorite attractions, gender, age, subscription to conservation organization, personal interest, etc. A guideline for development and conservation of parts of the town in order to guide development while conserving local characteristics of town within the acceptable ranges for local people as well as tourists recommended.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (การออกแบบชุมชนเมือง))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545
Type:
Degree Name:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
การออกแบบชุมชนเมือง
Spatial Coverage:
ปาย (แม่ฮ่องสอน)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
103