แนวทางการกำหนดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สาธารณะที่มีการปิดล้อมที่ตอบสนองพฤติกรรมและความพึงพอใจของคนในท้องถิ่น : องค์ประกอบที่สร้างความรู้สึกปิดล้อม
Other Title:
Guidelines for creating physical environments of enclosed public spaces responsive to local people's behaviors and statisfaction : factors developing feelings of enclosure
Advisor:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ปัจจุบันชุมชนเมืองของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีและอารยธรรมตะวันตกใต้ เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำรงชีพในสังคม ทำให้พื้นที่เปิดโล่ง สาธารณะลักษณะเปิดโล่ง (Plaza) ได้เข้ามามีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนเมือง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมสำคัญต่าง ๆของเมือง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะหารูปแบบกายภาพของพื้นที่ เปิดโล่งสาธารณะที่เหมาะสมกับชุมชนมืองของไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ การศึกษาถึงปัจจัยด้านบุคคลและกายภาพที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ และการรับรู้ระดับการปิดล้อมของผู้ใช้งานพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะที่มีการปิดล้อมในระดับต่าง ๆ เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะที่ตอบสนองพฤติกรรม และความพึงพอใจของคนในท้องถิ่น (กรุงเทพมหานคร) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทำการทดลองกับผู้เข้าร่วมการทดลอง จำนวน 100 ราย แล้วจึงนำผลการทดลองดังกล่าวมาทดสอบสมมุติฐานด้วยวิธีการทางสถิติ ประกอบการอภิปรายผล
ผลการศึกษาพบว่า สมมุติฐานที่ 1 ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) เป็นหลัก สามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยภายในบุคคลหรือประสบการณ์ด้านการออกแบบของบุคคล และปัจจัยด้านกายภาพของพื้นที่ หรือ ตัวแปรทางกายภาพสามด้าน คือ อัตราส่วนการปิดล้อม ลักษณะเฉพาะของพื้นที่ และการใช้งานและกิจกรรมที่เกิดในพื้นที่ มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง และในสมมุติฐานที่ 2 ใช้ผลจากการทดสอบค่าเฉลี่ยประชากรเดี่ยว (One-sample T-test) สรุปได้ว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองเริ่มรับรู้การปิดล้อมสมบูรณ์ เมื่อพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะ มีอัตราส่วนความสูงของสิ่งปิดล้อมต่อระยะห่างที่ผู้สังเกตยืนอยู่เท่ากัน 1 ต่อ1.54 และเริ่มรับรู้ถึงการสูญเสียการปิดล้อมเมื่อพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะ มีอัตราส่วนการปิดล้อมเท่ากับ 1 ต่อ 3.31
จากผลการศึกษาสามารถจัดทำข้อเสนอแนะการกำหนดพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะที่มีการปิดล้อม ที่ตอบสนองพฤติกรรมและความพึงพอใจของคนในท้องถิ่น อาทิ 1. ในการหาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการออกแบบ ควรคำนึงถึงคุณสมบัติผู้ใช้พื้นที่ รวมทั้งการศึกษาถึงทัศนคติ และความพึงพอใจของคนในท้องถิ่นนั้น 2. พื้นที่เปิดโล่งสาธารณะควรมีอัตราส่วนการปิดล้อมเท่ากับ 1 ต่อ 2 เนื่องจากเป็นอัตราส่วนการปิดล้อมที่ผู้เข้าร่วมการทดลองพึงพอใจสูงสุด และ 3. การส่งเสริมให้สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ของพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะเมือง มีการปิดล้อมที่เหมาะสม ควรมีอัตราส่วนการปิดล้อมอยู่ที่ระหว่าง 1 ต่อ 1.54 ถึง 1 ต่อ 3.31 Nowadays, many of Thai community, especially in Bangkok area, have been rapidly expanded as a consequence of technology and western civilization which have played a major role in our ways of life. Public open spaces from western culture have also become major parts of our lives. These spaces are used as the venues for local activities. Therefore, it is necessary to find out the physical environments of public open spaces which are suitable for the Thai people.
The objective of this study are to study the factors related to the satisfactions and the perceptions of enclosure of the people using the public open spaces, with various levels of enclosure, in order to propose the design guidelines for public open spaces which are responsive to local people (in Bangkok)’s behaviors and satisfaction. The data are collected by conducting the experiments with 100 participants. The experiment outcomes are used in hypothesis testing analyze by the statistic methods and the results are discussed.
According to the first hypothesis, using the analysis of variance (ANOVA), the results of the experiment show that there are several factors such as the experience of participants, the physical environments of spaces or the physical factors: the ratio of enclosure, the characteristics of space, and the uses and activities in spaces, related to the satisfaction of the participants. The second hypothesis, using One-sample T-test, reveals that the participants begin to have the feeling of full enclosure when the public open spaces have the proportion of the height of the building (H) to the distance and observer stand from that building (D) equals to 1:1.54. They begin to have the feeling of losing enclosure when the public open spaces have the proportion of H:D 1:3.31.
The design guidelines for the enclosed public open spaces which are responsive to local people’s behaviors and satisfaction are for examples, as the followings.
1) In designing public spaces, designers must know the users or the target groups and the physical characteristics of the spaces. They have to concern about people’s attitude and satisfaction as well.
2) The public open space should have the proportion of the H:D f 1:2 because this is the proportion that the participants are highly satisfied.
3) To design the suitable enclosure of the physical environment of the public open space, the proportion of H:D should range between 1:1.54 and 1:3.31.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (การออกแบบชุมชนเมือง))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546
Type:
Degree Name:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
การออกแบบชุมชนเมือง
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
202