การศึกษาปัญหาและปัจจัยที่มีความสำคัญต่อศักยภาพพื้นที่ย่านบ้านหม้อ วังบูรพาภิรมย์
Other Title:
The study of problem and factor which is significant for the area potential of Banmo Wang Bhurapha Phirom
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
This research aims to study factors and problems that after potential and role of Banmo commercial area. This potential and role had made this area significantly important until present day. This paper also intends to develop guidelines and recommendations in order to sustain its potential and role.
Ban Mo located in the old city of Bangkok in the south of The Grand Palace near by the banks of Chaopraya River is one of historical Ratanakhosin Period (This land was conferred by the king Thaksin the great for all Veitnames immigrant that were affected by the second cause death of Ayuddhaya.) The period of time between King Rama V and the beginning of King Rama VI era. The product that made that made in this area was very famous is “a cray pot” so the name of it has been called “Ban Mo” in Thai. Atthrough, Now Ban Mo is not famous area for producing a cray pot but now it become a famous market of jewdy, electronic device, electroacoustic, and home appliance.
It is found that Ban Mo District has been a commercial site since it was established. It is very important in terms of both history and economy. It can maintain its importance due to physical, economic and social factors. The physical factors include transport, its location, access to the site, its characteristics. The economic factors include Land price, its commercial activities and commercial types. The social factors include the size of populations, race and culture, public utilities and lead deed tittle. These three factors are interrelated, however, some factors play more important role than others as time change or some even disappear since they cannot withstand through time. Meanwhile other factors arise to replace the disappearing ones in order to enable Ban Mo to maintain sites.
Currently, however, Ban Mo is faced with problems concerning the three factors. They may result in Ban Mo losing its commercial status. Consequently, the guidelines for developing this area have been proposed. The government guidelines focus on physical improvement while those of the researcher will cover improvement on the three factors to ensure that Ban Mo can keep its commercial role. การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยและปัญหาที่มีผลต่อศักยภาพและบทบาททางด้านการค้าของย่านบ้านหม้อ ซึ่งเป็นศักยภาพที่สำคัญที่ทำให้ย่านสามารถคงอยู่ได้ตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน รวมทั้งหาแนวทางการพัฒนา เพื่อทำให้ย่านมีศักยภาพมากยิ่งขึ้นและคงอยู่ได้ต่อไป
ย่านบ้านหม้อ เป็นย่านประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นชุมชนเก่าแก่ ดำเนินคู่มากับ กรุงรัตนโกสินทร์แห่งสยามประเทศ ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ของพระบรมมหาราชวัง ผู้คนส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายตามสองฝั่งคลองคูเมืองเดิม จนถึงถนนเจริญกรุงบรรจบกับหัวมุมวังสราญรมย์ ย่านบ้านหม้อมีสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่สำคัญมาโดยตลอด อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในด้านการค้าพาณิชยกรรมตั้งแต่ครั้งอดีต จนสามารถสร้างชื่อเสียงและเป็นชื่อเรียกของย่าน ที่ทั้งผู้คนในและนอกย่านเป็นที่รู้จักกันอย่างดี คือ “อาชีพปั้นหม้อ” ของ “ย่านบ้านหม้อ” จนถึงปลายรัชกาลที่ 5 ต้นรัชกาลที่ 6 ย่านชุมชนการค้านี้ ได้วิวัฒนาการเป็นแหล่งค้าขายสินค้าตามความต้องการของยุคสมัย เช่น เครื่องประดับอัญมณี เครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ผลการศึกษาพบว่า ย่านบ้านหม้อเป็นย่านการค้าที่สำคัญที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร และยังสามารถคงอยู่ได้ตลอดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็เพราะปัจจัยที่สำคัญ 3 ด้านคือ 1. ปัจจัยทางด้านกายภาพ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านการคมนาคม ปัจจัยทางด้านสภาพที่ตั้ง ปัจจัยทางด้านการเข้าถึงพื้นที่และปัจจัยทางด้านลักษณะของย่าน 2. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านกิจกรรมการค้า และปัจจัยทางด้านรูปแบบการค้า 3. ปัจจัยทางด้านสังคม ได้แก่ ปัจจัยทางด้านประชากร ปัจจัยทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม ปัจจัยทางด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ทุก ๆ ปัจจัยจะมีความสัมพันธ์กัน และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญให้กับย่านมาตลอด ถ้ามีปัจจัยใดสามารถปรับตัวได้ก็จะคงอยู่ต่อไป แต่ถ้าปัจจัยใดไม่สามารถปรับตัวได้ ก็จะมีบทบาทน้อยลงจนหายไป ขณะเดียวกันก็จะเกิดปัจจัยใหม่ ๆ ขึ้น เพื่อเข้ามาสนับสนุนให้ย่านสามารถคงศักยภาพและบทบาททางด้านพาณิชยกรรมต่อไปได้
ซึ่งปัจจุบันย่านบ้านหม้อพบปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งปัญหาทางด้านกายภาพ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และปัญหาทางด้านสังคม ซึ่งทุก ๆ ปัญหาได้ส่งผลกระทบต่อปัจจัยที่มีความสำคัญทางด้านการค้าของย่าน อาจทำให้ย่านสูญเสียศักยภาพ และบทบาททางการค้าที่สำคัญ ไปจนกระทั่งย่านไม่สามารถคงอยู่ได้ ดังนั้นจึงได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาย่าน โดยแบ่งเป็นการดำเนินการของรัฐและของผู้วิจัยเอง ซึ่งแนวทางของรัฐจะเน้นทางด้านกายภาพเป็นหลัก ของผู้วิจัยจะเสนอเป็นการเชื่อมโยง ทั้งแนวทางการพัฒนาทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ร่วมกัน เพื่อให้ย่านบ้านหม้อเป็นย่านการค้าที่มีศักยภาพ และดำรงอยู่ได้และสามารถครอบคลุมการพัฒนาย่านในทุกด้าน
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (การออกแบบชุมชนเมือง))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556
Type:
Degree Name:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
การออกแบบชุมชนเมือง
Temporal Coverage:
บ้านหม้อ (กรุงเทพฯ)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
481
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ความสัมพันธ์ของชุมชนกับศิลปกรรมในวัดราษฎร์ริมคลองสามเสน
Collection: Theses (Master's degree) - Art History / วิทยานิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะType: Thesisภัทราวรรณ บุญจันทร์; Patrawan Boonchan (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004)จากการศึกษาศิลปกรรมที่มีอยู่ในวัดราษฎร์ทั้ง 4 วัดที่ตั้งอยู่ริมคลองสามเสน ได้แก่ วัดที่สร้างในสมัยอยุธยา คือวัดโบสถ์สามเสน และวัดที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ วัดประสาทบุญญาวาส วัดสวัสดิ์วารีสีมาราม และวัดอัมพวัน ... -
ความสัมพันธ์ระหว่างการพึ่งตนเองกับทุนทางสังคมของชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
Collection: Theses (Master's degree) - Public Administration / วิทยานิพนธ์ – รัฐประศาสนศาสตร์Type: Thesisณัฐกาล เรืองอุดม; Nattakarn Ruangoudom (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011) -
ความเหมาะสมในการออกแบบพืชพรรณบนทางเท้า ถนนสีลม ถนนพระราม1 และถนนสุขุมวิท
Collection: Theses (Master's degree) - Landscape Architecture / วิทยานิพนธ์ - ภูมิสถาปัตยกรรมType: Thesisจรัลภัทร ตรีพรทิพย์; Charanpat Treeporntip (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2013)การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการเลือกพรรณไม้และวิเคราะห์การออกแบบพืชพรรณที่เหมาะสมในการนำไปปลูกบนทางเท้าบนถนนสายหลัก ถนนสีลม ถนนพระราม 1 และถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่มีความสำคัญของกรุงเทพมหานคร ...