การสร้างสรรค์ลายมัดหมี่ด้วยเครื่องมือเชิงกราฟฟิก
Other Title:
The creation of mud-mee pattern by the use of graphic-based device
Subject:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสืบทอดและพัฒนาลวดลายมัดหมี่ของไทย ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของขั้นตอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ลวดลาย จึงได้จัดทำเครื่องมือช่วยในการออกแบบลวดลายมัดหมี่ชิ้นนี้ขึ้น ให้กับกลุ่มคนท้อผ้าไหมมัดหมี่ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทอผ้าไหมมัดหมี่ที่มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี ได้ทดลองใช้งาน และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เครื่องมือ จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของการประเมินการทดลองใช้เครื่องมือช่วยในการออกแบบลวดลายมัดหมี่ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 23.3 ตอบว่า ดีมาก ร้อยละ 70.0 ตอบว่า ดี ร้อยละ 6.7 ตอบว่าปานกลาง ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่มีข้อมูลหลากหลาย ตามมุมมองความเห็นในสถานะอาชีพ ประสบการณ์ อายุ ของแต่ละคน
โดยผลการออกแบบเครื่องมือช่วยในการการออกแบบลวดลายมัดหมี่ ผู้วิจัยได้ออกแบบผลงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ซึ่งได้ประยุกต์รูปแบบต่างๆให้มีแนวโน้มตอบสนองความเป็นไปได้ในการใช้งาน ให้รูปแบบของเครื่องมือสามารถอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มคนทอผ้าในการออกแบบลวดลาย เช่น มีการใช้วัสดุแม่เหล็ก ขนาดของเครื่องมือที่มีความเหมาะสมในการใช้งาน รูปแบบของเครื่องมือเป็นไปในทางการใช้ด้วยมือ ซึ่งส่งผลต่อการใช้งานที่ง่ายขึ้น
เครื่องมือช่วยในการการออกแบบลวดลายมัดหมี่ เครื่องมือนี้เกิดขึ้นจากการศึกษาข้อมูลขั้นตอนวิธีการออกแบบลวดลาย และการทอผ้าไหมมัดหมี่ในทุกขั้นตอน ก่อนที่จะสามารถออกแบบเครื่องมือชิ้นนี้ได้ จากผลการประเมิน เครื่องมือสามารถช่วยในการการออกแบบลวดลายมัดหมี่ได้และยังสามารถนำลายที่ได้จากเครื่องมือนำไปทอเป็นผืนผ้าไหมได้อีกด้วยซึ่งถือว่างานวิจัยครั้งนี้ได้ตอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น และสิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือ การได้อนุรักษ์และพัฒนาซึ่งงานหัตถศิลป์ไทยซ่งมีมาช้านานให้อยู่คู่กับวัฒนธรรมไทยสือต่อไป The research aims to preserve and develop Thai Mud mee pattern and design. I, the researcher, have seen this important creative design process so that I have invented the useful tool for mudmee designing pattern for 15 people who have at least ten years experience in mudmee weaving to use it and give me their satisfaction of this tool. The result of this experiment has been analyzed in percentage.
The results showed that Overview of the evaluation tool was used in the design pattern Mud-mee. Respondents 23.3 percent said very well said 70.0 percent of 6.7 percent of said medium. Respondents gave suggestions. A broad range of information. The view of the profession in the state over the individual.
The results of the design tools to design patterns Mud-mee. The works were designed according to the objectives of the study. Application forms, which are likely to respond to the possibility of use. The form of tools to facilitate the weaving groups in the design patterns are used as magnetic materials, the size of the tools that are appropriate for use, a form of tool use as the official manual. This leads to more user-friendly.
Design patterns Mud-mee. This tool is formed by step learn how to design patterns. And Mud Mee silk at all stages. Before you can design this tool.
From the evaluation of mud mee pattern device can help in the design and Mud Mee patterns can also be obtained from the design tool to a piece of woven silk, which has also considered this research responded to the established hypothesis. What is more important. For the conservation and development of Thai craftsmanship, which works with a long double to the Thai culture to carry on.
Much of the content of this article was compiled from a Master of Arts thesis. Visual Communication Arts. Silpakorn University, 2553 academic year on “creative graphic design Mud-mee analysis tools.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
Collections:
Total Download:
412