การศึกษาวิเคราะห์บทละครสันสกฤต อภิชญานศากุนตลม องก์ที่ 1-2

Other Title:
An analytical study of the Sanskrit drama Abhijnanasakuntalam act I-II
Advisor:
Subject:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์ 3 ประการคือ 1. ศึกษาความหมายและประวัติความเป็นมาของบทละครอภิชญานศากุนตลัม 2. ศึกษาวิเคราะห์บทละครอภิชญานศากุนตลัมในด้านวรรณศิลป์ และ 3. ศึกษาวิเคราะห์บทละครอภิชญานศากุนตลัมในด้านภาษาและไวยากรณ์ ต้นฉบับที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ ต้นฉบับอักษรเทวนาครีของ เอ็ม. อาร์. กาเล ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1969 และต้นฉบับอักษรเทวนาครี ของมอเนียร์ วิลเลียมส์ ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 2419 มีขอบเขตการศึกษาคือ บทละครอภิชญานศากุนตลัม องก์ที่ 1 และ 2 มีขั้นตอนการศึกษา คือ ปริวรรตอักษรเทวนาครีเป็นอักษรไทย และแปลบทละครจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย จากนั้นศึกษาลักษณะของละครในด้านวรรณศิลป์และด้านไวยากรณ์ ศึกษาคำศัพท์ ความหมาย และที่มาของคำ โดยอาศัยพจนานุกรมภาษาสันสกฤต-อังกฤษ เรียงลำดับคำ และคัดกรองศัพท์ที่ซ้ำออก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แจกแจงตามหมวดหมู่ เพื่อการอภิปรายและสรุปผลการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า บทละครอภิชญานศากุนตลัมเป็นผลงานของกวีกาลิทาส มีเค้ามาจากเรื่อง ศกุนตโลปาขยานในมหาภารตะ เป็นละคร 7 องก์ ดำเนินเรื่องตามขนบละครสันสกฤตที่เรียกว่า นาฏกะ กวีได้สร้างกลวิธีการดำเนินเรื่องที่ชวนติดตาม มีรสทางวรรณคดีที่หลากหลาย โดยเฉพาะศฤงคารรสเป็นรสหลัก ทั้งยังมีกลวิธีการสร้างบุคลิกตัวละครที่สมจริง บทสนทนาจึงมีความสนุกสนาน ใช้ภาษาในบทร้อยกรองที่ไพเราะ และใช้อลังการทางความหมาย ผลการศึกษาด้านภาษาและไวยากรณ์ พบว่า กวีใช้ธาตุจำนวนน้อยเพื่อสร้างกริยาอาขยาต ลการที่พบมากที่สุดคือปัจจุบันกาล รองลงมาก็คืออาชญา มีการใช้กริยากฤต โดยใช้ปัจจัย ต, ตุวา (และ ย) และปัจจัย ตุม. มากที่สุด กวียังสร้างคำด้วยวิธีสมาส ครอบคลุมสมาสแทบทุกประเภท โดยใช้ตัตปุรุษะมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นสมาส 2 คำ แต่ใช้สมาสพิเศษเพื่อรวมเอาสมาสย่อยมาเป็นคำเดียวกัน สมาสที่ยาวที่สุดมีคำมารวมกัน 8 คำ The objective of thesis is threefold: Firstly, a study of a historical background and overview of the Abhijnanaskuntam Act I-II; Secondly, an analytical study of the Abhijnanaskuntam Act I-II in a literary aspect; Thirdly, an analytical study of the Abhijnanaskuntam Act I-II in a grammatical aspect. The manuscripts used in the study are 1) a Devanagarl edition with English translation and commentary, edited by M. R. Kale and published by Motilal Barnasidass in 1969, and 2) a Devanagarl edition with English translation and commentary, edited by Monier Williams and published by the Clarendon press in 1876. The study is limited to Act I and Act II. The first stage of the study was to transliterate the play from the Devanagarl into the Thai script and to translate the text from Sanskrit into the Thai. The text, then, was studied in the aspects of literature and grammar. Vocabulary with its meaning and origin was sought with an aid of Sanskrit-English dictionaries. All words were sorted alphabetically, and the redundancy was omitted. The data was analyzed in a further stage, categorized into the topics accordingly for the discussion and conclusion.
The result of the study shows that Abhijnanasakuntam, a play in 7 acts, is written by a poet called Kalidasa who was inspired with a story of Sakuntala in Adiparva of the Mahabharata. The play was created after the Sanskrit convention of play called Nataka, a major drama. The poet used an elaborate technique to create an attractive plots with several sentiments, especially the erotic. Moreover, the characters were created humanly, the conversation were lively and the verses were beautiful and full of figures of speech. In the grammatical aspect, the poet employed a limited verbal roots (dhatu) to create unlimited verbs in tenses and moods, among them which the most frequently used are the present tense followed by the imperative. Some participles were abundant in the play, especially the participles formed from affixes, the most used affixes are ta (to acquire the past active participle). Tvã (to acquire the gerund), and turn (to acquire the infinitive). Finally, the poet created new words by a technique of the compound (samãsa) to combine 2 or more word into a new single word. The compound found in the two acts were categorized in almost type of the Sanskrit compound. The most frequent used was called the Determinative compound (tatpurusa). Most compound were formed by 2 words. However, there were some compounds of 3 or more words, and categorized into a complex compound, among which the largest one was formed from 8 words.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาสันสกฤต))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
ภาษาสันสกฤต
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
257