สิกขาสถาน : โรงเรียนประถมศึกษาแนวพุทธศาสตร์
Other Title:
Sikkha Sathan : the Buddhist school
Advisor:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ในปัจจุบันโลกเรากำลังเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร และด้วยความเคลี่อนไหวทางวัฒนธรรม อย่างรวดเร็วทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและรับเอาวัฒนธรรมภายนอกเข้าสู่วิถีชีวิตของคนไทยมากขึ้นโดยมิได้กลั่นกรองปรับใช้อย่างเหมาะสม ทำให้วิถีชิวิต วัฒนธรรมไทย อันเป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทยกำลังจะเลือนหายไปในวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ สถาปัตยกรรมไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากผลสะท้อนของสังคม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงไปด้วย ด้วยความตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ข้าพเจ้าจึงเสนอวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อเป็นกรณีศึกษา ทดลองออกแบบงานสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย ที่เริ่มด้วยการศึกษาสังคมไทย อันมีพุทธศาสนาเป็นแกนหลักของสังคม ผสมผสานวัฒนธรรมวิถีชีวิตใหม่และเก่าของไทย
วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้แสดงกระบวนการออกแบบ โดยเริ่มต้นจากปัญหาทางความคิดของเด็กรุ่นใหม่ ที่กำลังจะผลิบานในสังคม โดยศึกษาและทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ กับการเรียนรู้ และรับรู้ตามหลักพุทธศาสตร์ อันมีแนวความคิด คือ หลักไตรสิกขา 2 ผ่านผัสสะแห่งชีวิต ไปสู่ความเหมาะสมของการก่อรูปของที่ว่าง และงานสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย
ผลของการออกแบบทดลองนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงงานสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผสมผสาน ลักษณะพฤติกรม การเรียนรู้ และรับรู้ตามหลักพุทธศาสตร์(ไตรสิกขา) และนำไปสู่ กระบวนการหล่อหลอมเกิดผลที่ชัดเจนในรูปของที่ว่าง และความสัมพันธ์ของพื้นที่ 3 ส่วนหลัก คือ 1. ปริยัติ-ห้องเรียน 2. ปฏิบัติ-ลาน, ชาน 3. ปฏิเวธ-พื้นที่อิสระ ซึ่งปรากฏอยู่ในส่วนของอาคารประถม 1-6 พื้นที่ของห้องเรียน และการเชื่อมต่อของพื้นที่ว่างชั้นใต้ถุนของทั้งโครงการ สำหรับภาพรวมของโครงการ ได้ถูกออกแบบให้ สอดคล้องกับโครงสร้างทางความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่าง พื้นผิว รูปทรง ในสัดส่วนสัมพันธ์กับกระบวนกาเรเรียนรู้ของพุทธศาสนา At the moment is the period of communication and information. The flow of widespread external culture come and not sifted to compromise with traditional Thai culture as good as it should be. Thai culture was impacted and seemed disappear from young generation conception, Because of this reason, Thai architecture also impacted. Thus this study divined this problem and intended to male one case study that able to compromised both cultures together.
The principles of this study mentioned on the contemporary Thai architecture process design. From the research on Thai culture, sorted out that Buddhism was able to compromise the traditional Thai ways of life and new coming culture.
This study concentrated primarily on the young generation ideas and problems to understand human behavior as well as Buddhism conception. The Buddhism ideology of Tri-Sikkha flowed through human behavior to organized space and formed the contemporary architecture.
As result, this study shown the contemporary architecture blended the Tri-Sikkha Buddhism ideology which mentioned on the behavior, the study and the perception with space organizing. The concept of Tri-Sikkha defined three parts of space as follow.
1. Pariyatra = Class room
2. Patibat = Terrace
3. Patiwet = Open space
Lastly, these concept mentioned on the location of primary school building connected with the open space under the cellars of the whole complex. In conclusion, this study “Sikkhasathan: The Buddhist Primary Scholl” show the relationship of space, texture and mass with the Buddhism ideologies.
Description:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม (สถาปัตยกรรมไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546
Type:
Degree Name:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สถาปัตยกรรมไทย
Spatial Coverage:
สิกขาสถาน
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
163